บทความชวนอ่าน แผ่นดินไหว: เหตุมงคลในอุดมคติ ฤๅลางร้ายของแผ่นดิน




แผ่นดินไหว: เหตุมงคลในอุดมคติ ฤๅลางร้ายของแผ่นดิน

1. แผ่นดินไหวกับโลกทัศน์ที่เปลี่ยนไป

           การมองว่า “แผ่นดินไหว” เป็นลางดีหรือลางร้ายนั้น ขึ้นอยู่กับโลกทัศน์ที่แตกต่างกันของแต่ละกลุ่มสังคมวัฒนธรรมว่าจะเชื่อมโยงเหตุการณ์แผ่นดินไหวให้เข้ากับเรื่องดีหรือร้ายของตนเอง แต่จุดร่วมที่ตรงกันไม่ว่าเรื่องนั้นจะดีหรือร้ายก็คือ เหตุการณ์นั้น “ต้องเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง” ทั้งนี้เพราะปรากฏการณ์แผ่นดินไหว เป็นสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นปกติ และเมื่อแผ่นดินไหวเกิดขึ้น ก็ย่อมสั่นสะเทือนพื้นแผ่นดินอันเป็นที่อยู่อาศัย อันเป็นสัญลักษณ์แห่ง “ความมั่นคงและสวัสดิภาพของมนุษย์” ดังนั้น ปรากฏการณ์แผ่นดินไหวจึงปรากฏเป็นบทบันทึกอยู่ในงานวรรณกรรมของมนุษยชาติมาทุกยุคทุกสมัย และมีการสร้างคำอธิบายเกี่ยวกับบ่อเกิดของแผ่นดินไหวแตกต่างกันไปตามลัทธิความเชื่อทางศาสนา บทความนี้จึงขอยกตัวอย่างของทั้งสองแง่มุมเปรียบเทียบกัน แง่มุมหนึ่งมาจากคัมภีร์ “พระไตรปิฎก” ซึ่งเป็นตัวแทนของโลกทัศน์อินเดียโบราณ และอีกแง่มุมหนึ่งมาจากบันทึกประวัติศาสตร์ “พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ” ซึ่งเป็นตัวแทนของโลกทัศน์สังคมไทยสมัยอยุธยา เพื่อให้เป็นความรู้เกี่ยวกับมุมมองเรื่องแผ่นดินไหวในเอกสารโบราณ ทั้งในเชิงอุดมคติและในเชิงประวัติศาสตร์ หลังจากที่ประเทศไทยเกิดเหตุแผ่นดินไหวจำนวน 2 ครั้ง ขนาด 4.5 และ 1.61 ในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2566 โดยมีศูนย์กลางอยู่ในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก แรงสั่นสะเทือนรู้สึกได้ทั้งในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์ และกำแพงเพชร (กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว 2566ข-ค: ออนไลน์)

อ่านบทความฉบับเต็ม

ผู้เขียน
ดร.ตรงใจ หุตางกูร
นักวิจัยด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น คุณยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์ หรืออ่านนโยบายสิทธิส่วนบุคคล อ่านนโยบายการใช้คุกกี้ คุณยินยอมให้เราเก็บข้อมูลผ่านคุกกี้
ChatBot cancel

สวัสดีฉันคือแชทบอทจาก
ธัชชา ฉันสามารถช่วยอะไรได้บ้าง?

ChatBot cancel
สวัสดีฉันคือแชทบอทจาก
ธัชชา ฉันสามารถช่วยอะไรได้บ้าง?
powered by Eventpass

ธัชชา มีสถานะเป็นหน่วยงานภายในระดับกองของสำนักปลัดกระทรวง อว. ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนาด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ของประเทศ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

© 2021 TASSHA, Office of the Permanant Secretary , Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.

แอปพลิเคชั่นทั้งหมดของกระทรวง อว.

ติดตาม "ธัชชา" ได้ที่