บทความชวนอ่าน “Soft power” ถอดรหัสโครงสร้าง “อำนาจละมุนละไม” ในมิติวัฒนธรรม




“Soft power” ถอดรหัสโครงสร้าง “อำนาจละมุนละไม” ในมิติวัฒนธรรม

           “Soft power” หรือที่ผู้เขียนเรียกในบทความนี้ว่า “อำนาจละมุนละไม” เป็นแนวคิดที่ริเริ่มจากงานสายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมานานกว่า 3 ทศวรรษ ก่อนขยายสู่งานสายอื่น ด้วยเหตุผลสำคัญคือเป็นการนำ “แหล่งทรัพยากร” โดยเฉพาะ “วัฒนธรรม” มาบริหารจัดการอย่างเหมาะสม จนอำนาจดังกล่าวเกิดพลังในการโน้มน้าวใจคู่ปฏิสัมพันธ์เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจและเคารพซึ่งกันและกัน โดยปราศจากการใช้กำลังบังคับ กระทั่งเมื่อโลกก้าวสู่เทคโนโลยีข่าวสาร “อำนาจละมุนละไม” จึงแพร่อิทธิพลความคิดให้ใครต่อใครได้หยิบมาใช้เพื่อให้อุดมการณ์ที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังบรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ ส่วนสังคมไทยพบว่าแนวคิดดังกล่าวเริ่มมีการกล่าวถึงในรอบสองทศวรรษที่ผ่านมา แต่กลับเป็น “กระแส” แห่งยุคสมัยในปัจจุบัน จนมีคนกล่าวว่า “เดี๋ยวนี้ อะไร ๆ ก็ Soft power”

           บทความนี้ ไม่ต้องการตอบคำถามต่อคำพูดดังกล่าวว่า “ถูก” หรือ “ผิด” แต่จะชวนตั้งคำถามและวิเคราะห์ว่า ทำไม “Soft power” หรืออำนาจละมุนละไมในมิติทางวัฒนธรรมถึงมี “พลัง” และ “พลัง” ดังกล่าวก่อตัวขึ้นจากอะไร

อ่านบทความฉบับเต็ม

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น คุณยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์ หรืออ่านนโยบายสิทธิส่วนบุคคล อ่านนโยบายการใช้คุกกี้ คุณยินยอมให้เราเก็บข้อมูลผ่านคุกกี้
ChatBot cancel

สวัสดีฉันคือแชทบอทจาก
ธัชชา ฉันสามารถช่วยอะไรได้บ้าง?

ChatBot cancel
สวัสดีฉันคือแชทบอทจาก
ธัชชา ฉันสามารถช่วยอะไรได้บ้าง?
powered by Eventpass

ธัชชา มีสถานะเป็นหน่วยงานภายในระดับกองของสำนักปลัดกระทรวง อว. ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนาด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ของประเทศ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

© 2021 TASSHA, Office of the Permanant Secretary , Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.

แอปพลิเคชั่นทั้งหมดของกระทรวง อว.

ติดตาม "ธัชชา" ได้ที่