บทความชวนอ่าน รอง ศยามานนท์ กับการเผยแพร่องค์ความรู้ประวัติศาสตร์แก่ประชาชน
รอง ศยามานนท์ (พ.ศ.2454-2528) ถือเป็นนักประวัติศาสตร์คนสำคัญในช่วงเวลาหลังการอภิวัฒน์สยาม พ.ศ.2475 จนถึงปลายทศวรรษ 2520 เพราะนอกจากการดำรงตำแหน่งอาจารย์สอนวิชาประวัติศาสตร์ ณ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมีผลงานเขียนหนังสือ เช่น A History of Thailand (1971) และหนังสือ ประวัติศาสตร์ไทยในระบอบรัฐธรรมนูญ (2520) แล้ว รองยังรับราชการพิเศษของรัฐบาลไทย ได้แก่ ราชบัณฑิตในสาขาวิชาประวัติศาสตร์แห่งราชบัณฑิตยสถาน และประธานคณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย ด้วยเหตุเหล่านี้ รองจึงได้รับการยกย่องให้เป็น “ดวงประทีปทางประวัติศาสตร์” และ “ราชบัณฑิตปูชนียบุคคล” ของไทย (อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพศาสตราจารย์รอง ศยามานนท์, 2528; สุวิมล รุ่งเจริญ, 2555, น. 21)
ด้วยความสำคัญข้างต้น คงส่งผลให้เกิดงานศึกษาเกี่ยวกับบทบาทในการทำงานด้านประวัติศาสตร์ของรอง ศยามานนท์อยู่จำนวนหนึ่ง โดยมักจะพิจารณาจากการรับราชการพิเศษในคณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย งานศึกษาเหล่านั้นมองว่า รองเป็นนักประวัติศาสตร์ชนชั้นนำในกระแสการเขียนประวัติศาสตร์สกุลดำรงราชานุภาพ หรือไม่ก็ในกระแสประวัติศาสตร์นิพนธ์แบบราชาชาตินิยม ทั้งสองกระแสดังกล่าวนั้นให้ความสำคัญต่อบทบาทและความสามารถของสถาบันกษัตริย์ในฐานะผู้นำแห่งชาติไทย (กอบเกื้อ สุวรรณทัต-เพียร, 2519; วรพิน ชัยรัชนีกร, 2524; ยุพา ชุมจันทร์, 2530; สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, 2555)
อย่างไรก็ดี ความเรียงนี้ต้องการพิจารณาการทำงานด้านประวัติศาสตร์ในตำแหน่งราชบัณฑิตสาขาวิชาประวัติศาสตร์แห่งราชบัณฑิตยสถาน อันเป็นการแสดงให้เห็นในอีกแง่มุมหนึ่งของการรับราชการพิเศษกับรัฐบาลไทยของรอง ศยามานนท์
อ่านบทความฉบับเต็ม
สวัสดีฉันคือแชทบอทจาก
ธัชชา ฉันสามารถช่วยอะไรได้บ้าง?