บทความชวนอ่าน "คุณค่าของความรู้ที่หายไปในระบบวิจัยด้านสังคมศาสตร์"
ในปัจจุบัน ความไม่สมดุลระหว่างความรู้แบบวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ถือเป็นปัญหาสำคัญในระบบวิจัยของไทย ปัญหาดังกล่าวส่งผลให้การทำความเข้าใจชีวิตของประชาชนมักมองผ่านดัชนีความสำเร็จเชิงตัวเลขและวัตถุวิสัย แนวทางดังกล่าวนี้ตอกย้ำการใช้ความรู้เพื่อสร้างผลผลิตเชิงเศรษฐกิจแบบสุดโต่ง จนทำให้ชีวิตประชาชนเป็นเพียงกลไกในระบบทุนนิยมที่ต้องต่อสู้แย่งชิงและแข่งขัน เพื่อจะกระเสือกกระสนและดิ้นรนทำให้ตนเองมีทรัพย์สินเงินทองและประสบความสำเร็จเชิงวัตถุ ดังจะเห็นได้จากปัญหาความขัดแย้งระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง การมีชีวิตที่ยากลำบากของเกษตรกรผู้มีรายได้น้อย การไม่มีความมั่นคงในที่อยู่อาศัยของคนจนเมือง การไม่เข้าใจชีวิตของแรงงานข้ามชาติ อคติต่ออัตลักษณ์ทางอุดมการณ์ เชื้อชาติ ศาสนา และความหลากหลายทางเพศ การขาดโอกาสและสวัสดิการของกลุ่มผู้ด้อยโอกาสจำนวนมาก ช่องว่างระหว่างช่วงวัยของคนรุ่นใหม่กับผู้สูงอายุที่อยู่ในครัวเรือนและชุมชนเดียวกัน ตัวอย่างเหล่านี้คือผลจากการขาดความรู้ทางสังคมศาสตร์และการมองข้ามข้อวิพากษ์วิจารณ์ ที่นักสังคมศาสตร์ได้พยายามสร้างความรู้และชี้ให้เห็นผลที่คาดไม่ถึงของแผนพัฒนาเศรษฐกิจ รวมไปถึงระบอบอำนาจที่เอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มคนบางกลุ่ม และในขณะเดียวกันก็บีบคั้นคนบางกลุ่มจนสิ้นไร้ไม้ตอก ทิศทางในการขับเคลื่อนความรู้ที่เป็นอยู่จำเป็นต้องอาศัยการศึกษาวิจัยทางสังคมศาสตร์ที่มากไปกว่าแนวทางข้างต้น เพื่อเป็นบทสะท้อนทิศทางและวางเป้าหมายต่อการสร้างความรู้เพื่อการพัฒนาของประเทศ ที่เข้าถึงมิติความเป็นมนุษย์ในลักษณะต่าง ๆ
สวัสดีฉันคือแชทบอทจาก
ธัชชา ฉันสามารถช่วยอะไรได้บ้าง?