บทความชวนอ่าน "หมายเหตุการค้นพบโบราณคดีสโมสร"
วันที่ 2 ธันวาคม ร.ศ.126 (พ.ศ.2450) ณ พระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ พระราชวังเก่า มณฑลกรุงเก่าหรือจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน ในขณะที่อยู่ระหว่างการจัดงานบำเพ็ญพระราชกุศลรัชมงคลเนื่องในการ “เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัตินับเรียงปี... บรรจบ ๔๐ พรรษา เสมอด้วยรัชพรรษาแห่งสมเด็จพระรามาธิบดี พระองค์ที่ ๒ ซึ่งได้เสวยราชสมบัติในกรุงศรี อยุทธยา ยืนยาวกว่าพระเจ้าแผ่นดินทุกพระองค์ ที่ได้เสวยราชสมบัติในกรุงศรีอยุทธยา” (ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 24, ร.ศ.126, น. 921)” นั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรง “ให้มีการประชุม [เพื่อ] ตั้ง “โบราณคดีสโมสร สำหรับสืบสวนเรียบเรียงเรื่องราว ของกรุงสยาม แต่โบราณกาลมา” ขึ้น (ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 24, ร.ศ.126, น. 926)
จากเอกสารกระแสพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ณ ในที่ประชุมนั้น ทำให้ทราบว่า พระองค์มีจุดประสงค์ที่ต้องการ “ตรวจตราสอบสวนโบราณคดีในประเทศของเรา” เพื่อยังให้เกิดความถูกต้องและคลี่คลายความคลุมเครือทั้งหลายในอดีต ด้วยการรู้เรื่องราวของชาติและประเทศที่ถูกต้องนี้เป็นสิ่งสำคัญในการ “พึงศึกษาแลพึงสั่งสอนกัน ให้รู้ชัดเจนแม่นยำ” เพื่อนำมาใช้สั่งสอนและ “แนะนำความคิดแลความประพฤติ ซึ่งจะพึงเห็นได้เลือกได้ในการที่ผิดแลชอบชั่วแลดีเป็นเครื่องชักคำให้เกิดความรักชาติ แลรักแผ่นดินของตัว” (จุลจอมเกล้าฯ, 2561, น. 17)
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ยังทรงสร้างความเข้าใจกันเสียใหม่ถึงการรับรู้ “เรื่องราวของประเทศสยาม” ที่มาผ่านนั้น หาใช่การรับรู้จาก “พระราชพงศาวดาร” เพราะว่า “ความจงใจมุ่งหมายทิ่จะเรียงพระราชพงศาวดารนั้น เขาหมายจะเรียงเรื่องราวของเจ้าแผ่นดิน ซึ่งสืบสันตติวงศ์ลงมาจนถึงเวลาทิ่เขียนนั้น เรื่องราวกิจการบ้านเมืองอันใดทิ่กล่าวในพงศาวดาร เขาประสงค์จะกล่าวประกอบประวัติเป็นไปของพระเจ้าแผ่นดิน” (จุลจอมเกล้าฯ, 2561, น. 18) ด้วยเหตุนี้ จึงทรงเชิญชวนให้บุคคลทั้งหลายที่อยู่ในที่ประชุมดังกล่าวร่วมกัน
อ่านบทความฉบับเต็ม
สวัสดีฉันคือแชทบอทจาก
ธัชชา ฉันสามารถช่วยอะไรได้บ้าง?