มรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพกับพิพิธภัณฑ์ Intangible heritage and the museum
ปกหนังสือมรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพกับพิพิธภัณฑ์ : มุมมองใหม่ในการอนุรักษ์ทางวัฒนธรรม Intangible heritage and the museum : new perspectives on cultural preservation /
มาริเลน่า อลิวิซาโต ผู้เขียน ; เทียมสูรย์ สิริศรีศักดิ์, ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ และ ภัทรภร ภู่ทอง ผู้แปล
มรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage) เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมาตั้งแต่ในอดีต และได้ตกทอดมาจากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง โดยนิยามของมรดกวัฒนธรรมไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะวัตถุ แต่รวมไปถึงความรู้ ความเชื่อ และธรรมเนียมปฏิบัติอื่นๆ ด้วย ซึ่งเป็นที่เข้าใจกันในหมู่นักวิชาการที่ทำงานเกี่ยวกับมรดกวัฒนธรรมว่ามรดกวัฒนธรรมแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ แบบที่เป็นกายภาพหรือจับต้องได้ (tangible heritage) เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ แหล่งโบราณคดี งานจิตรกรรม เป็นต้น และแบบที่ไม่เป็นกายภาพหรือจับต้องไม่ได้ (intangible heritage) เช่น ความเชื่อ ความศรัทธา ภาษา งานช่างฝีมือ เป็นต้น แต่ไม่ว่าจะเป็นมรดกวัฒนธรรมใดก็ตาม ล้วนมีทั้งมิติที่เป็นกายภาพและไม่เป็นกายภาพ ยกตัวอย่างเช่น โบราณสถาน แม้โดยทั่วไปจะถูกจัดเป็นมรดกวัฒนธรรมทางกายภาพ แต่ก็มีสิ่งที่ไม่เป็นกายภาพแฝงอยู่ เช่น ความเชื่อ ความศรัทธา เป็นต้น และในทำนองเดียวกัน มรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพ เช่น ประเพณีต่างๆ ก็ยังมีสิ่งที่เป็นกายภาพแฝงอยู่ เช่น เครื่องแต่งกาย เป็นต้น
ผู้เขียน ปริยฉัตร เวทยนุกูล บรรณารักษ์ ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
สวัสดีฉันคือแชทบอทจาก
ธัชชา ฉันสามารถช่วยอะไรได้บ้าง?