ชวนอ่าน วัฒนธรรมการสักในล้านนา
“สัก” ภาษาล้านนาเรียกว่า “สับ” หมายถึงใช้เหล็กแหลมที่อุ้มน้ำหมึกสีต่าง ๆ รวมถึงน้ำมันแล้วสักเข้าไปในผิวหนังจนเกิดสีหรือลวดลายต่าง ๆ เมื่อมีการสักคาถาอาคมเลขยันต์เรียกว่า “สับยันต์” สักหมึกแบบถมทึบเรียกว่า “สับขาตัน” หากสักแบบเป็นลวดลายเรียกว่า “สับขาก่าน” หรือ “สับขาลาย” ทั้งสักขาตันและสักขาก่าน (สักขาลาย) หากสักถึงเข่าเรียกว่า “สับขาก้อม” และหากสักเลยลงไปถึงน่องหรือข้อเท้าเรียกว่า “สับขายาว” หรือ “สับขารวด” การสักในอดีตจะเน้นเรื่อง “ข่ามคง” หมายถึงความอยู่ยงคงกระพันเป็นหลัก ดังนั้น “สับยันต์ข่าม” จึงหมายถึงการสักรูปยันต์สักเลขอักขระคาถาอาคมลงไปบนผิวหนังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเพื่อให้เกิดความอยู่ยงคงกระพัน ซึ่งการสักยันต์นี้สามารถแบ่งกว้าง ๆ ตามจุดมุ่งหมายได้ ๒ ประเภท คือ (๑) สักยันต์เพื่ออยู่ยงคงกระพัน และ (๒) สักยันต์เพื่อเมตตามหานิยม การสักยันต์ถือว่าเป็นศาสตร์และศิลป์ที่ลึกซึ้ง ในบทความฉบับนี้ผู้เขียนเพียงนำเสนอเป็นเบื้องต้น ทางด้านประวัติศาสตร์และคติความเชื่อของการสักยันต์ในล้านนา และเน้นในส่วนของการสักยันต์ข่ามเพื่อความอยู่ยงคงกระพัน เพื่อหลบหลีกศาสตราวุธ คลาดแคล้วจากภัยภยันอันตรายจากเขี้ยวเขาเล็บงา กันคุณไสยและภูตผีปีศาจวิญญาณร้ายของชาวล้านนา การสักยันต์จึงเป็นเสมือนการตั้งรับป้องกันตัวทั้งในยามมีสติและลืมสติ ควบคู่ไปกับศิลปะการต่อสู้เชิงมือเชิงอาวุธหอกดาบที่ใช้ในการรุก
ในอดีตชายชาวล้านนาที่เกิดก่อนช่วงทศวรรษ ๒๕๐๐ จะนิยมสักยันต์กันแทบทุกคนอาจจะสักยันต์มากน้อยตามแต่ละบุคคล ด้วยมีค่านิยมว่าสมชายชาตรี เป็นชายหนุ่มเต็มตัว สามารถเป็นที่พึ่งของหญิงสาวและครอบครัวอันเป็นที่รักได้ ดังมีคำกล่าวสำนวนล้านนาว่า...
อ่านต่อ...
สวัสดีฉันคือแชทบอทจาก
ธัชชา ฉันสามารถช่วยอะไรได้บ้าง?