บทความ เมื่อสยามพลิกผัน : ว่าด้วยกรอบมโนทัศน์พื้นฐานของสยามยุคสมัยใหม่

    




      ในความทรงจำของนักเรียนวิชาประวัติศาสตร์ จะจดจำเรื่องเล่า ตำนานการสร้างบ้านแปงเมือง การปกป้องบ้านเมืองให้รอดพ้นจากภัยสงคราม ของวีรกษัตริย์ทุกยุค ทุกสมัย ตั้งแต่พ่อขุนรามคำแหง (สมัยกรุงสุโขทัย) สมเด็จพระนเรศวร (สมัยกรุงศรีอยุธยา) สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (สมัยกรุงธนบุรี) พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) ซึ่งเกิดจากการเขียนประวัติศาสตร์ภายใต้อุดมการณ์ “ราชาชาตินิยม” ที่ถือเอาชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นแก่นแกนในการอธิบายประวัติศาสตร์กระแสหลักที่ครอบงำการรับรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทย และคงอิทธิพลมาจนถึงปัจจุบัน หนังสือที่จะชวนอ่านคือ “เมื่อสยามพลิกผัน : ว่าด้วยกรอบมโนทัศน์พื้นฐานของสยามยุคสมัยใหม่” โดย ดร. ธงชัย วินิจจะกูล ได้นำเสนอมุมมองเชิงวิพากษ์ เปิดมุมมองใหม่สำหรับผู้อ่านต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ชาติไทย

           ธงชัย วินิจจะกูล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์วัฒนธรรมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยุคต้นสมัยใหม่และสมัยใหม่ (คริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20) เป็นศาสตราจารย์กิตติคุณ ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน สหรัฐอเมริกา ปัจจุบันเป็นนักวิจัยอาวุโส ณ Institute of Developing Economics (IDE-JETRO) ประเทศญี่ปุ่น ผลงานหนังสือที่สร้างชื่อคือ “Siam mapped : a history of the geo-body of a nation” ได้รับรางวัล Harry J. Benda Prize in Southeast Asian Studies จาก Association for Asian Studies (AAS) ปี 1995 และรางวัล Grand Prize of Asia Pacific Book Award ของสภาวิจัยเอเชีย ประเทศญี่ปุ่น ปี ค.ศ. 2005

           “เมื่อสยามพลิกผัน : ว่าด้วยกรอบมโนทัศน์พื้นฐานของสยามยุคสมัยใหม่” เป็นหนังสือรวมบทความ ของอาจารย์ธงชัย วินิจจะกูล นำเสนอภาพรวมกระแสความเคลื่อนไหวการศึกษาประวัติศาสตร์ชาติไทยที่พยายามออกนอกขนบเดิม (อุดมการณ์ราชาชาตินิยม) เสนอทฤษฎีวิพากษ์ ทั้งแนวคิดหลังสมัยใหม่ (Post -Modern) และประวัติศาสตร์หลังอาณานิคม (Post-colonial history) เน้นมุมมองเชิงพื้นที่ และเวลา ในประเด็นการปะทะกันทางภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยกับอารยธรรมตะวันตก ประวัติศาสตร์ความคิดและการเมือง ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมของสยาม/ไทย วิเคราะห์ วิพากษ์ประวัติศาสตร์ชาติไทย ประวัติศาสตร์ชาตินิยม และประวัติศาสตร์ความทรงจำ ช่วงทศวรรษ 1880 ถึง 1930 (พ.ศ. 2423-2472) ซึ่งเป็นช่วงที่อาจารย์ธงชัยเรียกว่า “เมื่อสยามพลิกผัน” สู่สมัยใหม่ ภายใต้ภาวะกึ่ง อาณานิคม เป็นช่วงที่สยามเกิดการปะทะ ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงในหลาย ๆ ด้าน พร้อมกับหยิบยกเอาเรื่องเล่าต่าง ๆ มาพลิกมุมอธิบายใหม่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง “ความศิวิไลซ์ของไทย” ที่มีอารยธรรมเก่าแก่มาแต่สมัยสุโขทัย เรื่อง “ตัวตนคนไทย” ที่เกิดจาก “การสร้างความเป็นคนอื่นในผืนดิน (ตน) ไทย” เรื่อง “พุทธศาสนา” ที่เหนือกว่าศาสนาอื่นใดในโลก ความรู้สึกทั้งรักทั้งชาวตะวันตก เรื่อง “มรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์” ในประชาธิปไตยแบบไทย ๆ เรื่อง “การปะทะกันของขนบ” ประวัติศาสตร์สองแบบ ไปจนถึงเรื่อง “ความคับแคบของวงวิชาการไทยและนิติรัฐแบบไทย ๆ”

อ่านบทความฉบับเต็ม

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น คุณยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์ หรืออ่านนโยบายสิทธิส่วนบุคคล อ่านนโยบายการใช้คุกกี้ คุณยินยอมให้เราเก็บข้อมูลผ่านคุกกี้
ChatBot cancel

สวัสดีฉันคือแชทบอทจาก
ธัชชา ฉันสามารถช่วยอะไรได้บ้าง?

ChatBot cancel
สวัสดีฉันคือแชทบอทจาก
ธัชชา ฉันสามารถช่วยอะไรได้บ้าง?
powered by Eventpass

ธัชชา มีสถานะเป็นหน่วยงานภายในระดับกองของสำนักปลัดกระทรวง อว. ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนาด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ของประเทศ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

© 2021 TASSHA, Office of the Permanant Secretary , Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.

แอปพลิเคชั่นทั้งหมดของกระทรวง อว.

ติดตาม "ธัชชา" ได้ที่