บทความชวนอ่าน มานุษยวิทยาสถาปัตยกรรม architectural anthropology




มานุษยวิทยาสถาปัตยกรรม architectural anthropology


           สนามศึกษาของนักมานุษยวิทยามีหลากหลาย ในบางครั้ง นักมานุษยวิทยาก็เข้าไปศึกษาพื้นที่เดียวกันกับนักผังเมือง สถาปนิก หรือนักภูมิศาสตร์ แต่พวกเขาเหล่านั้นอาจเข้าไปศึกษาสิ่งที่แตกต่างกันด้วยแว่นตาที่แตกต่างกัน หากลองนึกภาพว่าอาชีพเหล่านี้ศึกษาพื้นที่หมู่บ้านจัดสรร นักมานุษยวิทยาหรือนักชาติพันธ์วรรณนาอาจสนใจผู้อยู่อาศัยผ่านวิถีชีวิตประจำวันในบ้าน หรือการปฏิสัมพันธ์ของคนที่เข้ามาใช้พื้นที่ส่วนกลางของหมู่บ้าน ในขณะที่สถาปนิกหรือนักวิจัยด้านสถาปัตยกรรมอาจสนใจลักษณะการออกแบบบ้านและวัสดุใช้งาน ไปจนถึงผลกระทบของการออกแบบในด้านสิ่งแวดล้อมหรือความคงทนของบ้าน หากพวกเขามองพื้นที่ส่วนกลางในหมู่บ้าน ก็อาจคิดไปถึงวิธีการออกแบบเพื่อให้ศาลาหรือสวนกลายเป็นพื้นที่ที่ใช้งานร่วมกัน (shared space) และส่งเสริมกิจกรรมร่วมกันระหว่างลูกบ้าน

           หากคิดตามเรื่องข้างต้นแบบคร่าว ๆ ผู้เขียนมี 3 ข้อคิดเห็น ข้อแรกคือความแตกต่างของสองอาชีพ นักมานุษยวิทยาสนใจ “คน” ในขณะที่สถาปนิกสนใจ “สิ่งก่อสร้าง” ฝั่งหนึ่งสนใจสิ่งที่มีชีวิต ส่วนอีกฝั่งสนใจสิ่งก่อสร้างที่ไม่มีชีวิต ข้อคิดเห็นนี้อาจไม่ถูกต้องทั้งหมดและจะถูกอธิบายในภายหลัง สอง มานุษยวิทยาเป็นศาสตร์ที่มองความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างผู้คน และอาจรวมไปถึงสัตว์และสิ่งของที่ไม่มีชีวิต แต่นักมานุษยวิทยามองเห็นความสัมพันธ์เหล่านั้นในแนวระนาบจากมุมสายตามนุษย์ ขณะที่สถาปนิกมองหมู่บ้านจัดสรรเดียวกัน ผ่านกระดาษแปลน ผ่านโปรแกรม 3 มิติที่ทำให้พวกเขามองเห็นรูปทรง มองเห็นสิ่งก่อสร้างทั้งแนวตั้งและแนวนอน ซึ่งนักมานุษยวิทยาอาจไม่ค่อยได้แหงนหน้าของพวกเขาขึ้นไปมองตึกรามบ้านช่องเสียเท่าไร

อ่านบทความฉบับเต็ม

ปิยเทพ ตันมหาสมุทร
นักศึกษาปริญญาโท สาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น คุณยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์ หรืออ่านนโยบายสิทธิส่วนบุคคล อ่านนโยบายการใช้คุกกี้ คุณยินยอมให้เราเก็บข้อมูลผ่านคุกกี้
ChatBot cancel

สวัสดีฉันคือแชทบอทจาก
ธัชชา ฉันสามารถช่วยอะไรได้บ้าง?

ChatBot cancel
สวัสดีฉันคือแชทบอทจาก
ธัชชา ฉันสามารถช่วยอะไรได้บ้าง?
powered by Eventpass

ธัชชา มีสถานะเป็นหน่วยงานภายในระดับกองของสำนักปลัดกระทรวง อว. ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนาด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ของประเทศ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

© 2021 TASSHA, Office of the Permanant Secretary , Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.

แอปพลิเคชั่นทั้งหมดของกระทรวง อว.

ติดตาม "ธัชชา" ได้ที่