บทความชวนอ่าน สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพกับประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทยสมัยใหม่




สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพกับประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทยสมัยใหม่

           เป็นเวลามากกว่าครึ่งศตวรรษนับตั้งแต่ พ.ศ.2512 ที่นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการประวัติศาสตร์ไทยผู้ล่วงลับเขียนบทความเรื่อง “สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพกับ อาร์โนล์ด ทอยน์บี” ลงพิมพ์ในวารสาร สังคมศาสตร์ปริทัศน์ เพื่อพยายามทำความเข้าใจต่อบุคคลซึ่งได้รับสมญานามว่า “บิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย [ผู้ซึ่ง]เป็นบุคคลที่มืดมนที่สุดในประวัติศาสตร์ [กล่าวคือ] เราอาจจะรู้จักพระองค์เป็นอย่างดีพอสมควร ในฐานะของนักปฏิรูป นักการปกครอง นักการเมือง พ่อและครูตามแบบฉบับอุดมคติของสยามใหม่ แต่เราไม่รู้จักพระองค์ในฐานะนักประวัติศาสตร์” เอาเสียเลย (นิธิ เอียวศรีวงศ์, 2512, น. 17) ทั้งนี้ ตลอดความยาวสิบแปดหน้ากระดาษของบทความ นิธิปรารถนาจะทำความเข้าใจต่อ “แนวทางการศึกษาประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งมีสมเด็จฯ กรมพระยาดำราราชานุภาพเป็นผู้นำมากกว่า” จะทำความเข้าใจต่อพระองค์ในฐานะปัจเจกบุคคลเท่านั้น (น. 24)

           อย่างไรก็ดี การยกเรื่องราวอันเกิดขึ้นเมื่อกว่าครึ่งศตวรรษที่แล้ว ใช่ว่าเพื่อเป็นการโรยเกลืออันจะนำไปสู่การถกเถียงต่อความเข้าใจของนิธิ เอียวศรีวงศ์เกี่ยวกับสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ และแนวทางการศึกษาประวัติศาสตร์ซึ่งมีพระองค์เป็นผู้นำ หากจะขอกล่าวถึงบทความเรื่อง “สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพกับอาร์โนล์ด ทอยน์บี” นี้ว่าเป็นเสมือนดั่งหนึ่งประกายไฟแห่งการตื่นตัวและหันกลับไปพินิจพิเคราะห์วิธีวิทยาในการเขียนประวัติศาสตร์ของสังคมไทย ของบรรดานักวิชาการประวัติศาสตร์อย่างคึกคักในช่วงทศวรรษ 2510-25201 ด้วยเหตุนี้ จึงปฏิเสธได้ค่อนข้างยากว่าบทความชิ้นนี้ของนิธิมีอิทธิพลทางความคิดในทางใดทางหนึ่งของการศึกษาประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทยที่ขยายตัวมากขึ้นในเวลาต่อมา

อ่านบทความฉบับเต็ม

กฤชกร กอกเผือก

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น คุณยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์ หรืออ่านนโยบายสิทธิส่วนบุคคล อ่านนโยบายการใช้คุกกี้ คุณยินยอมให้เราเก็บข้อมูลผ่านคุกกี้
ChatBot cancel

สวัสดีฉันคือแชทบอทจาก
ธัชชา ฉันสามารถช่วยอะไรได้บ้าง?

ChatBot cancel
สวัสดีฉันคือแชทบอทจาก
ธัชชา ฉันสามารถช่วยอะไรได้บ้าง?
powered by Eventpass

ธัชชา มีสถานะเป็นหน่วยงานภายในระดับกองของสำนักปลัดกระทรวง อว. ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนาด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ของประเทศ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

© 2021 TASSHA, Office of the Permanant Secretary , Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.

แอปพลิเคชั่นทั้งหมดของกระทรวง อว.

ติดตาม "ธัชชา" ได้ที่