เรือช้อนสนั่นกับวิถีชีวิตของชุมชนบ้านกง จังหวัดสุโขทัย




เรือช้อนสนั่นกับวิถีชีวิตของชุมชนบ้านกง จังหวัดสุโขทัย

           ชุมชน “บ้านกง” ตั้งอยู่ริมแม่น้ำยม ในเขตตำบลกง อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย วิถีชีวิตของชาวชุมชนจึงสัมพันธ์อยู่กับแม่น้ำยมอย่างใกล้ชิด จากการสอบถามชาวชุมชน แม่น้ำยมเป็นเส้นทางการคมนาคมระหว่างชุมชนบ้านกงและชุมชนอื่นก่อนที่ถนนจะได้รับการพัฒนาขึ้นในช่วงทศวรรษ 2500 และที่สำคัญ แม่น้ำยมเป็นแหล่งทำมาหากินของชาวชุมชน นั่นคือ การทำประมงพื้นบ้าน

           การทำประมงพื้นบ้านของชาวชุมชนบ้านกงในช่วงก่อนทศวรรษ 2510 หรือราว 50 ปีมาแล้ว ในรอบหรือช่วงเวลา 12 เดือน ชาวชุมชนจะมีรูปแบบการทำประมงด้วยอุปกรณ์หาปลาที่แตกต่างกันตามระดับน้ำในแม่น้ำยม เช่น การวางลอบ การลงข่าย หรือการช้อนสนั่น เมื่อหาปลามาได้ชาวชุมชนก็จะนำมาถนอมอาหารให้สามารถรับประทานได้ตลอดทั้งปี ไม่ว่าจะเป็นปลาแห้ง ปลาย่าง ปลาร้า และน้ำปลา โดยเฉพาะปลาสร้อยถือเป็นปลาที่มีจำนวนมาก “ปลาชุมจนกระทั่งว่าถ้าตกเบ็ดหรือทอดแหได้ปลาตัวเล็กติด เขาไม่เอาโยนทิ้งน้ำไปแล้วเอาปลาตัวโต ๆ” (จิราภรณ์ สถาปนะวรรธนะ, 2547, น. 32)

           สำหรับปลาแห้ง ปลาย่าง ปลาร้า และน้ำปลา อันเป็นผลผลิตจากการทำประมงพื้นบ้านนี้ ชาวชุมชนบ้านกงจะนำเอาไปแลกข้าวกับชาวชุมชนที่ประกอบอาชีพทำนาในท้องที่ใกล้เคียงอำเภอกงไกรลาศ เช่น ชุมชนป่าแฝก บ้านไกร กกแรด และชุมชนที่ไกลออกไปในท้องที่อำเภอพรหมพิราม และอำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก ทั้งนี้ ยังเคยมีบันทึกว่า เคยมีคนจากพิษณุโลกเดินทางนำมะพร้าวมาแลกกับปลาย่างอีกด้วย (จิราภรณ์ สถาปนะวรรธนะ, 2547, น. 34, 44) เหล่านี้จึงสามารถกล่าวได้ว่า การทำประมงพื้นบ้านของชาวชุมชนบ้านกงในช่วงก่อนทศวรรษ 2510 อยู่ในระบบเศรษฐกิจเพื่อยังชีพ อันเป็นลักษณะร่วมกันของชุมชนชนบทในเขตภาคเหนือตอนล่าง ได้แก่ นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก และสุโขทัย (จิราภรณ์ สถาปนะวรรธนะ, 2546)

อ่านบทความฉบับเต็ม

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น คุณยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์ หรืออ่านนโยบายสิทธิส่วนบุคคล อ่านนโยบายการใช้คุกกี้ คุณยินยอมให้เราเก็บข้อมูลผ่านคุกกี้
ChatBot cancel

สวัสดีฉันคือแชทบอทจาก
ธัชชา ฉันสามารถช่วยอะไรได้บ้าง?

ChatBot cancel
สวัสดีฉันคือแชทบอทจาก
ธัชชา ฉันสามารถช่วยอะไรได้บ้าง?
powered by Eventpass

ธัชชา มีสถานะเป็นหน่วยงานภายในระดับกองของสำนักปลัดกระทรวง อว. ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนาด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ของประเทศ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

© 2021 TASSHA, Office of the Permanant Secretary , Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.

แอปพลิเคชั่นทั้งหมดของกระทรวง อว.

ติดตาม "ธัชชา" ได้ที่