ครบรอบ 1 ปี "ธัชชา" วิทยสถานสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ของประเทศไทย



   วันที่ 9 มีนาคม 2565 ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดงาน ธัชชากับการพัฒนาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ของประเทศไทย "การสร้างมูลค่า โดยบูรณาการทุกศาสตร์และสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนไทย" พร้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง " 1 ปีธัชชา กับการ ขับเคลื่อนสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ครั้งสำคัญของประเทศ" โดยมี ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวง อว., รศ.ดร.พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ รองปลัดกระทรวง อว., ดร.พัชรินรุจา จันทโรนานนท์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว., ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวง อว., คณะผู้บริหารกระทรวง อว. และแขกผู้มีเกียรติ เข้าร่วมงาน ณ ห้องโถง ชั้น 1 อาคารอุดมศึกษา 2 กระทรวง อว.



     ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก กล่าวว่า ขอเเสดงความยินดีที่พวกเราทำงานกันมาได้กว่า 1 ปีเต็ม ธัชชา 1 ปีในวันนี้ทำให้พวกเราได้เรียนรู้เเละได้คิดเห็นถึงบ้านเมืองของเรา ประวัติ อดีต เเละโบราณคดี ถ้าย้อนกลับไปในอดีตเราไม่ได้เริ่มต้นด้วยการเป็นชาติ เราเริ่มต้นด้วยการเป็นบ้านเล็กเมืองน้อย เริ่มจากการเป็นรัฐเล็กๆ ไม่ใช่เป็นราชอาณาจักรเเบบสุโขทัย เเบบล้านนา หรือเเบบอยุธยา มีการทำเกษตรกรรม มีหัตถกรรม เเละอุตสาหกรรม แต่ประเทศไทยไม่มีอุตสาหกรรมหลัก เพราะไม่มีเหมืองเเร่ เหล็ก ฉะนั้นไทยทำได้เเต่อุตสาหกรรมเบา และมีศิลปกรรม สุนทรียะ มีอารายะ ช่วงโลกาภิวัตน์ เราเริ่มมีการค้ากับระบบโลก โดยเชื่อมเอเชียกับยุโรปไว้ มีเศรษฐกิจพอเพียง คนไทยส่วนใหญ่เป็นชาวนา ชาวไร่ทำเกษตรกรรม นอกจากนั้นเราทำเรื่องของสุนทรียะ ศิลปะ อารยะ ด้วย อันนี้เป็นจุดที่ควรจะคิดมากเกี่ยวการพัฒนากำลังของประเทศ ถ้ามองแต่ด้านเกษตรกรรมว่าเป็นคนที่ต้องเพิ่มเติม และจำเป็นอย่างยิ่งที่จะคิดถึงเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงในมิติที่ใหม่ขึ้น โดยมาผูกเข้ากับเรื่องเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์

         สำหรับการฟื้นฟูศิลปกรรมแห่งชาติ ซึ่งเป็นงานของศิลปกรรมแห่งชาติ ต้องมองอย่างใกล้ชิดกับช่างศิลป์ ธัชชาต้องเอาเพาะช่างมาทำงานให้มากขึ้น เอาเพาะช่างมาเป็นส่วนหนึ่งของธัชชาให้ได้ รวมทั้งมหาวิทยาลัย คณะศิลปกรรมทั้งหลายของประเทศควรจะทำงานร่วมกันให้มากขึ้นด้วย



  ด้าน รศ.ดร.พาสิทธิ์ กล่าวรายงานว่า วิทยสถาน "ธัชชา" จัดตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 และได้ดำเนินการขับเคลื่อนการพัฒนาด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ของประเทศ เพื่อนำไปสู่การสร้างคุณค่าและผลประโยชน์ ทางเศรษฐกิจและสังคมของชาติ มาเป็นเวลา 1 ปี เต็ม

ธัชชามีภารกิจและบทบาทหน้าที่สำคัญ ดังนี้

1) เป็นโครงสร้างพื้นฐานทางด้านวิชาการและการวิจัยสาขาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ศิลปกรรมศาสตร์ ตลอดจนการบูรณาการองค์ความรู้กับด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

2) พัฒนางานวิจัยใหม่ๆ เพื่อสร้างองค์ความรู้และหาคำตอบที่คำอธิบายเพิ่มเติมในประเด็นที่น่าสนใจ

3) ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรเพื่อสืบสานและต่อยอดทักษะฝีมือที่หายาก

4) สร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์บนฐานประวัติศาสตร์ โบราณคดี และศิลปวัฒนธรรม




ธัชชาทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายกว่า 40 หน่วยงาน

1. ในการขยายฐานความรู้ด้าน สุวรรณภูมิศึกษา

2. มุ่งพัฒนาและต่อยอด ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

3. สร้างบทเรียนจากโลกคดี ที่เชื่อมไทยเชื่อมโลก

4. ทำให้เกิดการบริโภคสุนทรียะศิลปะของไทย และ

5. สืบสานศิลปะพื้นถิ่นไทย ไม่ให้สูญหายไปตามกาลเวลา


          วันนี้ถือเป็นการแถลงผลการดำเนินงานของธัชชาครบรอบ 1 ปี ธัชชากับภาคีเครือข่ายได้ทำโครงการที่สำเร็จไปแล้วและกำลังดำเนินการอยู่กว่า 70 โครงการ โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ โดยวันนี้ ได้มีการจัดเสวนา 5 สถาบัน ในหัวข้อ "การบูรณาการข้ามศาสตร์ ต่อยอดองค์ความรู้ สู่การสร้างคุณค่าและสร้างรายได้ พร้อมทั้งเสวนาวิชาการนานาชาติในหัวข้อ "จากต้นทุนทางวัฒนธรรมเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ"

This website uses cookies to help us to provide you with a good experience when you use the website and also allows us to improve the website. By continuing to use the website, you are agreeing to us placing cookies on your computer or read cookie Privacy Policy . You are agreeing to us placing cookies on your computer
ChatBot cancel

สวัสดีฉันคือแชทบอทจาก
ธัชชา ฉันสามารถช่วยอะไรได้บ้าง?

ChatBot cancel
สวัสดีฉันคือแชทบอทจาก
ธัชชา ฉันสามารถช่วยอะไรได้บ้าง?
powered by Eventpass

ธัชชา มีสถานะเป็นหน่วยงานภายในระดับกองของสำนักปลัดกระทรวง อว. ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนาด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ของประเทศ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

© 2021 TASSHA, Office of the Permanant Secretary , Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.

แอปพลิเคชั่นทั้งหมดของกระทรวง อว.

ติดตาม "ธัชชา" ได้ที่