อว. 3 ปีกับการปฏิรูปวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม “ธัชชา” และ “ธัชวิทย์”





อว. 3 ปีกับการปฏิรูปวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม  “ธัชชา” และ “ธัชวิทย์”
      “บูรณาการข้ามศาสตร์ทั้งวิทย์ และศิลป์ ต่อยอดองค์ความรู้ สร้างมูลค่าเพิ่มให้เศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศ และด้านวิทยาศาสตร์ ของไทย แบบก้าวกระโดด ”

       วิทยสถานสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย (Thailand Academy of Social Sciences, Humanities and Arts: TASSHA) หรือ “ธัชชา” เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนาบุคลากรทางด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ของประเทศ ไปสู่การสร้างคุณค่าและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมของชาติ โดยมุ่งเน้นให้เกิดผลต่อความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนของประเทศไทยด้วยเศรษฐกิจและวัฒนธรรมสร้างสรรค์ ในระยะแรกจะมุ่งดำเนินการใน 5 ประเด็น มุ่งเป้าที่สำคัญของประเทศไทย โดยมีสถาบันภายใน TASSHA ดังนี้
1) สถาบันสุวรรณภูมิศึกษา
2) สถาบันโลกคดีศึกษา
3) สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง
4) สถาบันพิพิธภัณฑ์ศิลปกรรมแห่งชาติ
5) สถาบันช่างศิลป์ท้องถิ่น

       ในปี 2565 ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการขับเคลื่อนการพัฒนาด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ของประเทศกับสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม และกรมศิลปากร และลงนามกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และหอการค้าไทย เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนโครงการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์สร้างสรรค์ การดำเนินการที่สำคัญ อาทิ การลงพื้นที่เพื่อทําการวิจัย ในพื้นที่ Land bridge คอคอดกระที่เชื่อมระหว่างซีกโลกตะวันออกและซีกโลกตะวันตก จังหวัดชุมพร ซึ่งจากการวิจัย ได้ค้นพบแหล่งผลิตลูกปัด ในระดับอุตสาหกรรมซึ่งมีอายุกว่า 2,000 ปี และเป็นการสืบค้นที่มีหลักฐานชัดเจน และมีการค้นพบเหรียญทองคําของโรมัน อายุประมาณ 2,000 ปี โดยใช้เทคโนโลยีทางด้านวิทยาศาสตร์แสงซินโครตรอนในการ
ดูธาตุประกอบ

       โดยการดำเนินการของธัชชาในระยะต่อไป คือการนําวิทยาศาสตร์ในเรื่องของ DNA มาสืบค้นหา DNA จากวัตถุโบราณ มนุษย์โบราณที่ขุดค้นพบเพื่อที่จะสร้างเป็นฐานข้อมูลที่สำคัญของประเทศและส่วนภูมิภาค ซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่งในพื้นที่ของสุวรรณภูมิ


       ทั้งนี้ อว. เห็นว่า จะต้องมีด้านวิทยาศาสตร์ควบคู่กันไป จึงจัดตั้ง "ธัชวิทย์" วิทยสถานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย (Thailand Academy of Sciences : TAS) ขึ้นเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2565 เพื่อให้เป็นศูนย์กลาง (Hub) ในการเชื่อมโยงเครือข่ายนักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ สถาบันวิจัยแห่งชาติ และมหาวิทยาลัยมาทำงานร่วมกัน เพื่อให้ประเทศก้าวเข้าสู่การเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วภายใน พ.ศ. 2570
 การวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแบบก้าวกระโดด นับเป็นกุญแจสำคัญต่อการพัฒนาประเทศทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน เพราะปัจจุบันโลกการแข่งขันสูงขึ้น โดยให้มีรูปแบบการดำเนินงานใน 3 มิติ ได้แก่

มิติที่ 1 Frontline Think Tank การสร้างเครือข่ายคลังสมองทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศ
มิติที่ 2 Frontier Science Alliances กลุ่มริเริ่มงานวิจัยชั้นนำ
มิติที่ 3 Future Graduates Platform ผลิต และพัฒนากำลังคนที่มีศักยภาพสูงเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลก

This website uses cookies to help us to provide you with a good experience when you use the website and also allows us to improve the website. By continuing to use the website, you are agreeing to us placing cookies on your computer or read cookie Privacy Policy . You are agreeing to us placing cookies on your computer
ChatBot cancel

สวัสดีฉันคือแชทบอทจาก
ธัชชา ฉันสามารถช่วยอะไรได้บ้าง?

ChatBot cancel
สวัสดีฉันคือแชทบอทจาก
ธัชชา ฉันสามารถช่วยอะไรได้บ้าง?
powered by Eventpass

ธัชชา มีสถานะเป็นหน่วยงานภายในระดับกองของสำนักปลัดกระทรวง อว. ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนาด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ของประเทศ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

© 2021 TASSHA, Office of the Permanant Secretary , Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.

แอปพลิเคชั่นทั้งหมดของกระทรวง อว.

ติดตาม "ธัชชา" ได้ที่