นิทรรศการ “ช่างศิลป์ถิ่นไทย วิถีร่วมสมัย” เพื่อน้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ “สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง”

 


สถาบันช่างศิลป์ท้องถิ่นได้จัดนิทรรศการ และเสวนาวิชาการ “ช่างศิลป์ถิ่นไทย วิถีร่วมสมัย น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง” บริเวณชั้น 5 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร BACC เมื่อวันที่ 15-20 พฤศจิกายน พ.ศ.2565



สถาบันฯได้รับเกียรติจาก องคมนตรี นายพลากร สุวรรณรัฐ เป็นประธานในพิธีเปิดงานเมื่อวันที่  16 พฤศจิกายน 2565  นางสิริกร มณีรินทร์ ผู้อำนวยการสถาบันช่างศิลป์ท้องถิ่นได้กล่าวรายงานสรุปได้ว่า   ตลอดระยะเวลาการดำเนินภารกิจไปทุกภูมิภาค สถาบันฯได้ประจักษ์ว่าช่างศิลป์ระดับฝีมือโดยเฉพาะในพื้นที่ชายแดนที่ทุรกันดารประชาชนยากจน ล้วนเป็นผลผลิตอันสืบเนื่องจากพระราชกรณียกิจด้านส่งเสริมศิลปาชีพซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้ทรงวิริยะอุตสาหะทุ่มเทกําลังพระวรกายและกําลังพระสติปัญญาเพื่อดูแลให้ประชาชนอยู่ดีมีสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  งานของสถาบันช่างศิลป์ท้องถิ่นจึงนับได้ว่าเป็นการเดินตามรอยพระบาทในพระองค์ท่านโดยแท้ หากปราศจากรากฐานที่พระองค์ทรงวางไว้ ภูมิปัญญาไทยหลายด้านคงอยู่ในสภาพเสี่ยงต่อการสูญหาย และลำบากยากยิ่งในการที่จะฟื้นฟู  เพื่อเป็นการน้อมรําลึกในพระมหากรุณาธิคุณ สถาบันฯจึงได้คัดเลือกผลผลิตจากโครงการวิจัยของมหาวิทยาลัย 7 แห่ง วิทยาลัยชุมชน 11 แห่งทุกภูมิภาค ด้านงานผ้าทอ ด้านจักสานและงานแกะสลักไม้มาจัดแสดง ซึ่งมีทั้งผลงานของศิษย์และครูช่าง เพื่อเทิดพระเกียรติ พร้อมเชิดชูคุณค่าของมรดกภูมิปัญญาของไทย รวมทั้งจัดเสวนาเกี่ยวกับแนวทางการบูรณาการศาสตร์และวิทยาการด้านต่างๆ อาทิ ศาสตร์ด้านการออกแบบ ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อสืบสานส่งต่อมรดกภูมิปัญญาของชาติอันทรงคุณค่าให้ดำรงอยู่ได้อย่างสง่างามในยุคสมัยปัจจุบันและยั่งยืนไปถึงอนาคต

นายพลากร กล่าวแสดงความยินดีที่ได้มาเป็นประธานในพิธีเปิดด้วย ๒ เหตุผล : เป็นอีกโอกาสหนึ่งที่คนไทยได้น้อมรำลึกถึงพระราชกรณียกิจในสมเด็จพระพันปีหลวงด้านศิลปาชีพและได้มาชมผลงานของเหล่าครูช่าง เช่น ผ้าทอลายจวนตานีจากปัตตานี โคมไฟกรงนกจากนราธิวาส ผลิตภัณฑ์จักสานกระจูดจากครูช่างศิลปาชีพ หรือผ้าทอผสมขนแกะจากแม่ฮ่องสอน นิทรรศการนี้ "หยิบยกหัวใจสิงห์ของชาวบ้านขึ้นมาให้คนไทยและคนต่างประเทศดู เพื่อให้เห็นความสำคัญของฝีมือชาวบ้าน" และเล่าว่าโชคดีที่ได้ตามเสด็จ ในฐานะผู้ว่าราชการ จ.เชียงใหม่ ปัตตานี และผู้อำนวยการ ศอบต. ได้เห็นการทรงงานด้วยพระวิริยะอุตสาหะ เพื่อช่วยเหลือชาวบ้าน ทอดพระเนตรเห็นความสามารถของชาวบ้านที่สร้างงานหัตถกรรมในยามว่างจากเกษตรกรรมได้สวยน่าอัศจรรย์ แม้จะเป็นชาวไร่ชาวนา ทั้งนี้ พระองค์ทรงติดตามงานทุกปี เมื่อเสด็จแปรพระราชฐาน...พระราชทานเงินเพื่อซื้อผลงานของช่างศิลป์ด้วยราคาสูง กระแสจากชาวบ้านเป็นไปในทิศทางเดียวกันคือ ได้ใช้เงินซ่อมแซมบ้าน ส่งลูกเรียน และพ่อบ้านที่ไปทำงานต่างประเทศสามารถกลับมาอยู่ร่วมกัน...เป็นที่มาของคำกล่าวว่า “ขาดทุนของข้าพเจ้า คือกำไรของชาติ”

ทั้งนี้ ความตอนหนึ่งในนิทรรศการ บรรยายว่า โครงการศิลปาชีพในจังหวัดต่างๆ เกิดจากการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยือนราษฎรในพื้นที่ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง แล้วทรงมีพระราชประสงค์ให้ชาวบ้านมีอาชีพเสริมเพื่อสร้างรายได้ให้ครอบครัวอยู่ดีมีสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี บุตรหลานได้รับโอกาสทางการศึกษา ทรงมีพระราชเสาวนีย์ให้ชาวบ้านทอผ้า จักสาน ตลอดทั้งทำงานหัตถกรรมอื่นๆ ส่งถวาย โดยพระองค์จะทรงรับซื้อ ผ่านมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถที่ทรงจัดตั้งขึ้น นับแล้วเป็นเวลากว่า ๕๐ ปีที่สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงทรงงานทำให้เกิดการอนุรักษ์ฟื้นฟู ส่งเสริมและสืบสานมรดกภูมิปัญญางานหัตถกรรมในแต่ละพื้นถิ่นอย่างกว้างขวาง สมดังพระราชดำริที่ว่า “ขาดทุนของข้าพเจ้า คือกำไรของชาติ”



ผลสรุปจากการจัดงานคือมีผู้เข้าชมผลงานเฉลี่ยประมาณวันละ 600-700 คน ซึ่งเป็นชาวต่างชาติประมาณถึง 200 คน เช่น ผู้เข้าชมงานสนใจผลิตภัณฑ์จักสานมาก เช่น ผลิตภัณฑ์ตกแต่งรูปปลาแค้ตัวใหญ่ จากวชช.ยโสธร เก้าอี้จักสานกระจูดจากนราธิวาส เสื่อ กรงแมวและตุ่มใบใหญ่จากวชช.ตราด และย่ามทอมือจากวชช.อุทัยธานี ทั้งนี้ มีผู้สนใจสั่งซื้อทันทีหลายราย ทำให้ช่างจักสานตราดได้ออเดอร์ทำโคมไฟรูปมะม่วง ช่างนราธิวาสทำเก้าอี้ ทั้งนี้ มีผู้ชมสนใจโซนภูมิปัญญาและวิทยาศาสตร์เช่นกัน ซึ่งนำเสนอโครงการวิเคราะห์การป้องกันเชื้อราในวัสดุจักสาน และโครงการย้อมสีธรรมชาติให้คงทน

This website uses cookies to help us to provide you with a good experience when you use the website and also allows us to improve the website. By continuing to use the website, you are agreeing to us placing cookies on your computer or read cookie Privacy Policy . You are agreeing to us placing cookies on your computer
ChatBot cancel

สวัสดีฉันคือแชทบอทจาก
ธัชชา ฉันสามารถช่วยอะไรได้บ้าง?

ChatBot cancel
สวัสดีฉันคือแชทบอทจาก
ธัชชา ฉันสามารถช่วยอะไรได้บ้าง?
powered by Eventpass

ธัชชา มีสถานะเป็นหน่วยงานภายในระดับกองของสำนักปลัดกระทรวง อว. ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนาด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ของประเทศ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

© 2021 TASSHA, Office of the Permanant Secretary , Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.

แอปพลิเคชั่นทั้งหมดของกระทรวง อว.

ติดตาม "ธัชชา" ได้ที่