องคมนตรี เปิดนิทรรศการ “ช่างศิลป์ถิ่นไทยครั้งที่ 2 สืบสานไว้ให้ยั่งยืน” สร้างเวทีนำเสนอผลงานฝีมือของช่างไทย มุ่งสืบสาน อนุรักษ์ ต่อยอดมรดกของไทยสู่เยาวชนคนรุ่นใหม่




องคมนตรี เปิดนิทรรศการ “ช่างศิลป์ถิ่นไทยครั้งที่ 2 สืบสานไว้ให้ยั่งยืน” สร้างเวทีนำเสนอผลงานฝีมือของช่างไทย มุ่งสืบสาน อนุรักษ์ ต่อยอดมรดกของไทยสู่เยาวชนคนรุ่นใหม่
เมื่อวันที่ 16 มี.ค. นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี เป็นประธานกล่าวเปิดงานและจารแม่ลายกระหนกบนแผ่นทองแดง เพื่อเปิดนิทรรศการงานช่างศิลป์ถิ่นไทย ครั้งที่ 2 สืบสานไว้ให้ยั่งยืน โดยมี นายเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ ปลัดกระทรวง อว. นายวันนี นนท์ศิริ ผู้ช่วยปลัดกระทรวง อว. ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ประธานกรรมการคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) รศ.ดร.พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ กรรมการบริหารวิทยสถานด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย (ธัชชา) น.ส.ฉัตต์ธิดา บุญโต ผู้อำนวยการธัชชา ดร.ถนอม อินทรกำเนิด และ อ.วิชัย รักชาติ กรรมการวิชาการสถาบันช่างศิลป์ท้องถิ่น รศ.ปรีดี พิศภูมิวิถี ที่ปรึกษาธัชชา นายเจริญชัย วงษ์จินดา ผอ.สถาบันวิทยาลัยชุมชน นายจักรินทร์ โกมลศิริ อัคราชทูต (ฝ่ายการพาณิชย์) ประจำส่วนกลาง นายอภิชัย ล้ำเลิศพงศ์พนา กรรมการสภาสถาบันวิทยาลัยชุมชน เข้าร่วม และมี ดร.สิริกร มณีรินทร์ ผอ.สถาบันช่างศิลป์ท้องถิ่น กล่าวรายงาน ณ ห้องนิทรรศการ ชั้น 4 ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) 




นายพลากร กล่าวว่า ตนได้เห็นความก้าวหน้าของสถาบันช่างศิลป์ท้องถิ่น และความหลากหลายของงานซึ่งครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศ และเห็นถึงความร่วมมือร่วมใจของนักวิชาการสถาบันอุดมศึกษาในการทำนุบำรุงและสืบสานมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ ความร่วมมือร่วมใจนี้หมายรวมไปถึงนักวิชาการที่ไปทำงานกับช่างศิลป์ที่อยู่นอกมหาวิทยาลัยของท่านด้วย ซึ่งสมกับที่เป็นบุคคลสำคัญของชาติ และที่สำคัญยิ่งคือท่านได้ดำเนินตามรอยพระบาทในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในการที่ท่านพยายามรักษาศิลปะของคนประจำชาติ เพื่อให้คนไทยรุ่นใหม่ได้ภาคภูมิใจว่าประเทศไทยก็มีศิลปะวัฒนธรรมประจำชาติ ซึ่งมีเอกลักษณ์ที่งดงามไม่แพ้ชาติใด ดังที่พวกเราเห็นประจักษ์ในงานนิทรรศการนี้




ดร.สิริกร กล่าวว่า สถาบันช่างศิลป์ท้องถิ่นในสังกัด "ธัชชา" กระทรวง อว. ได้ตระหนักถึงความจำเป็นที่จะอนุรักษ์และส่งต่อภูมิปัญญาเชิงช่างไทยสู่คนรุ่นใหม่ จึงจัดทำโครงการ “ช่างศิลป์ถิ่นไทยครั้งที่ 2 สืบสานไว้ให้ยั่งยืน” เป็นเวทีนำเสนอผลผลิตจากงานวิจัยของสถาบันในปีงบประมาณ 2566 จากสถาบันอุดมศึกษา 12 แห่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิชาการของสถาบันได้นำข้อค้นพบและผลงานฝีมือของครูช่างและศิษย์มาจัดแสดง ให้เป็นแรงบันดาลใจต่อสาธารณชนได้ตระหนักถึงคุณค่าของงานช่างศิลป์ท้องถิ่นไทย และเพื่อเปิดเวทีวิชาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับแนวทางการสืบสานทุนทางวัฒนธรรมไทยและการต่อยอดไปสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ 
นิทรรศการที่จัดขึ้นในงานดังกล่าว แบ่งเป็น 4 กลุ่ม สอดคล้องกับแผนงานของสถาบัน ดังนี้


1.) การจัดทำคลังความรู้ อนุรักษ์ สืบสาน ซึ่งมีวิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ และวิทยาลัยชุมชนปัตตานี ได้ศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบแม่ลายไทยใน 5 ภูมิภาค และการนำไปใช้สร้างสรรค์งาน ส่วนมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี  วิทยาลัยชุมชนหนองบัวลำภู และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้สำรวจสืบค้นช่างศิลป์ในจังหวัดเพชรบุรี จังหวัดหนองบัวลำภู และจังหวัดนครศรีธรรมราช รวมถึงจัดอบรมช่างสาขาที่เสี่ยงต่อการอยู่รอด


2.) การพัฒนาด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้สกัดสีผงจากพืชพรรณ์ไม้ และวัตถุธาตุเพื่อใช้ในงานจิตรกรรม ส่วนมหาวิทยาลัยศิลปากรได้ทดลองการป้องกันการเกิดของเชื้อราในวัสดุจักสาน


3.) การปรับรูปแบบให้ใช้ในวิถีร่วมสมัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้พัฒนาต้นแบบงานจักสานที่ชุมชนบางเจ้าฉ่า จังหวัดอ่างทอง และร่วมกับวิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน พัฒนางานจักสานที่บ้านเลโคะ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ส่วนวิทยาลัยชุมชนแพร่ ได้พัฒนาเครื่องแต่งกายด้วยผ้าพื้นเมืองแพร่


4.) การส่งต่อสู่เยาวชนคนรุ่นใหม่ ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมมือกับเขตพื้นที่มัธยมศึกษาเชียงใหม่และช่างศิลป์ในพื้นที่ ฝึกสล่าน้อยในโรงเรียนต้นแบบ 4 โรง ให้จักสาน ทอผ้า สลักดุน ฝึกงานโลหะศิลป์ ส่วน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ส่งเสริมช่างทอผ้ารุ่นใหม่ด้วยแนวคิดการออกแบบเพื่อความยั่งยืน




ในการนี้ องคมนตรีและคณะผู้บริหารได้ร่วมชมนิทรรศการในงาน ดังนี้ โครงการวิจัยการส่งเสริมช่างทอรุ่นใหม่ด้วยแนวคิดการออกแบบเพื่อความยั่งยืน จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โครงการออกแบบและพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ร่วมสมัยจากวัสดุจักสาน-สืบสานจากภูมิปัญญาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยศิลปากรและกำนันเฉลา โครงการของวิทยาลัยชุมชน สร้างมูลค่าเพิ่มภูมิปัญญาหัตถกรรม ในจังหวัดแพร่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน และจังหวัดหนองบัวลำภู โครงการสืบสานงานช่างศิลป์ ถิ่นเชียงใหม่ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และครูนักเรียนจากจังหวัดเชียงใหม่ โครงการศึกษาและสำรวจช่างศิลป์ ท้องถิ่นจังหวัดเพชรบุรี จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี และช่างฝังลายไม้มูก-ช่างปั้นดินเผา โครงการศึกษารูปแบบแม่ลายในงานศิลปกรรมไทย 4 ภูมิภาคและจังหวัดชายแดนภาคใต้ จากวิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยทักษิณ และช่างแทงหยวกจังหวัดสงขลา และวิทยาลัยชุมชนปัตตานี โครงการพัฒนากระบวนการผลิตสีธรรมชาติจากพืชพื้นถิ่นสำหรับงานจิตรกรรมสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี


ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการ “ช่างศิลป์ถิ่นไทย ครั้งที่ 2 สืบสานไว้ให้ยั่งยืน"ตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 24 มีนาคม 2567 เวลา 10.00 - 20.00 ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) 

This website uses cookies to help us to provide you with a good experience when you use the website and also allows us to improve the website. By continuing to use the website, you are agreeing to us placing cookies on your computer or read cookie Privacy Policy . You are agreeing to us placing cookies on your computer
ChatBot cancel

สวัสดีฉันคือแชทบอทจาก
ธัชชา ฉันสามารถช่วยอะไรได้บ้าง?

ChatBot cancel
สวัสดีฉันคือแชทบอทจาก
ธัชชา ฉันสามารถช่วยอะไรได้บ้าง?
powered by Eventpass

ธัชชา มีสถานะเป็นหน่วยงานภายในระดับกองของสำนักปลัดกระทรวง อว. ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนาด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ของประเทศ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

© 2021 TASSHA, Office of the Permanant Secretary , Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.

แอปพลิเคชั่นทั้งหมดของกระทรวง อว.

ติดตาม "ธัชชา" ได้ที่