สถาบันสุวรรณภูมิศึกษา ธัชชา ได้เข้าร่วมการประชุมภายใต้หัวข้อ “สุวรรณภูมิ ดินแดนที่มีอยู่จริง มรดกร่วมด้านความทรงจำของภูมิภาคอาเซียน : ความหลากหลายของผู้คน ภาษา และ วัฒนธรรม” ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567 (Thailand Research Expo 2024)




    สถาบันสุวรรณภูมิศึกษา ธัชชา ได้เข้าร่วมการประชุมภายใต้หัวข้อ “สุวรรณภูมิ ดินแดนที่มีอยู่จริง มรดกร่วมด้านความทรงจำของภูมิภาคอาเซียน : ความหลากหลายของผู้คน ภาษา และ วัฒนธรรม” ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567 (Thailand Research Expo 2024) ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพ


    เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม 2567 ผศ. ชวลิต ขาวเขียว ผู้อำนวยการสถาบันสุวรรณภูมิศึกษา ธัชชา ได้เข้าร่วมจัดงานและบรรยายในการประชุมภายใต้หัวข้อ “สุวรรณภูมิ ดินแดนที่มีอยู่จริง มรดกร่วมด้านความทรงจำของภูมิภาคอาเซียน : ความหลากหลายของผู้คน ภาษา และ วัฒนธรรม” โดยได้รับเกียรติจากนางสาวฉัตต์ธิดา บุญโต ผู้อำนวยการธัชชา กล่าวเปิดการประชุมฯ 


 ผศ. ชวลิต ขาวเขียว ได้บรรยายเรื่อง “คุณค่าสุวรรณภูมิ มรดกทางวัฒนธรรมเชื่อมโลก” กล่าวถึงความสำคัญและความเป็นมาของสุวรรณภูมิ ความก้าวหน้างานวิจัยด้านสุวรรณภูมิที่เกิดขึ้นในระยะที่ผ่านมา โดยการดำเนินงานได้รับความร่วมมือจากนักวิจัยของไทยและต่างประเทศ จนเกิดเป็นองค์ความรู้ประวัติศาสตร์ที่สำคัญในระดับภูมิภาค การประชุมในครั้งนี้ ถือเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยของสถาบันสุวรรณภูมิศึกษา ธัชชา ซึ่งประมวลจากแผนงานวิจัยเชิงลึกและต่อยอดองค์ความรู้สุวรรณภูมิ ตามคุณค่า 5 มิติ บนฐานปัจจัยทั้ง 4 ด้าน โดยมีนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านจากหลากหลายหน่วยงานมาร่วมกันดำเนินงานวิจัยและได้ให้เกียรติมาบรรยายทั้ง 4 ด้าน ดังนี้ 

- ด้านภูมิศาสตร์การตั้งถิ่นฐานและเชื่อมโยงพื้นที่ในสุวรรณภูมิ จากงานวิจัย สุวรรณภูมิถึงทวารวดี: ความสำคัญของเมืองโบราณในประเทศไทยในบริบทเครือข่ายการค้าและศาสนาของโลกในช่วง 2,300 – 1,000 ปีมาแล้ว โดย รศ.ดร.สฤษดิ์พงศ์ ขุนทรง คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

- ด้านเทคโนโลยีวิทยาการและการผลิตในสุวรรณภูมิ จากงานวิจัยเรื่อง เทคโนโลยีวิทยาการและการผลิตด้านโลหะวิทยา ในดินแดนสุวรรณภูมิ โดย ดร.ภีร์ เวณุนันทน์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
- ด้านผู้คนในสุวรรณภูมิ จากงานวิจัย ประวัติศาสตร์ผู้คนในดินแดนสุวรรณภูมิจากเอกสารจีนและอินเดียโบราณ โดย ดร.พิภู บุษบก คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และการผสมผสานทางพันธุกรรมของผู้คนในดินแดนสุวรรณภูมิ โดย รศ.ดร.วิภู กุตะนันท์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
- ด้านศิลปะและวัฒนธรรมในสุวรรณภูมิ จากงานวิจัย สุวรรณภูมิและทวารวดี : บทบาทของเครือข่ายการค้าและศาสนา จากหลักฐานจารึก โดย ดร.อุเทน วงศ์สถิตย์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร






    ทั้งนี้ เมื่อได้นำ “มรดกแห่งสุวรรณภูมิ” มาผ่านการบูรณาการ “ศาสตร์และศิลป์” เข้าด้วยกัน จนเป็น “คุณค่าสุวรรณภูมิ” จึงก่อเกิดต้นทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา ซึ่งนับเป็นองค์ความรู้ประวัติศาสตร์ที่สำคัญของอาเซียน ที่เชื่อมโยงผู้คนในดินแดนแห่งนี้เข้าด้วยกันอย่างลึกซึ้งและแน่นแฟ้น และการขับเคลื่อนวิถีแห่งภูมิอารยธรรมสุวรรณภูมิ ถือเป็นแนวทางที่สำคัญในการนำคุณค่ารากเหง้าของพื้นที่ที่สามารถเติมสู่ความสมบูรณ์และยั่งยืน รวมถึงการพัฒนาที่เน้นการฟื้นชีวิต สังคม และการสร้างความตระหนักให้สังคมในโลกได้รับรู้ถึงภูมิปัญญาอันยิ่งใหญ่ของพื้นที่ต่อไป


This website uses cookies to help us to provide you with a good experience when you use the website and also allows us to improve the website. By continuing to use the website, you are agreeing to us placing cookies on your computer or read cookie Privacy Policy . You are agreeing to us placing cookies on your computer
ChatBot cancel

สวัสดีฉันคือแชทบอทจาก
ธัชชา ฉันสามารถช่วยอะไรได้บ้าง?

ChatBot cancel
สวัสดีฉันคือแชทบอทจาก
ธัชชา ฉันสามารถช่วยอะไรได้บ้าง?
powered by Eventpass

ธัชชา มีสถานะเป็นหน่วยงานภายในระดับกองของสำนักปลัดกระทรวง อว. ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนาด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ของประเทศ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

© 2021 TASSHA, Office of the Permanant Secretary , Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.

แอปพลิเคชั่นทั้งหมดของกระทรวง อว.

ติดตาม "ธัชชา" ได้ที่