"รศ.ดร.พาสิทธิ์" ชูปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็น Soft Power ไทย อว.พร้อมผลักดันสู่โมเดลการพัฒนาระดับนานาชาติ




"รศ.ดร.พาสิทธิ์" ชูปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็น Soft Power ไทย อว.พร้อมผลักดันสู่โมเดลการพัฒนาระดับนานาชาติ
วันที่ 23 ธันวาคม 2566 รศ.ดร.พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ รองปลัดกระทรวง อว. ได้เข้าร่วมติดตามโครงการวิจัยของสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง (ธัชชา) และเปิดกิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยีพลังงานสะอาดเพื่อการผลิต"ข้าว"ครบวงจร ซึ่งส่วนหนึ่งในโครงการ “การนำเทคโนโลยีพลังงานสะอาดมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สู่เศรษฐกิจ BCG”ณ กลุ่มแปลงใหญ่ผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวตำบลบ้านต้อน อำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย โดยมี ดร.เอกราช ดีนาง รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง นายก อบต.บ้านต้อน อาจารย์ นักวิจัย นักศึกษา และกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดหนองคาย บึงกาฬ และอุดรธานีให้การต้อนรับและเข้าร่วมงาน



ซึ่งในงานนี้ "รศ.ดร.พาสิทธิ์" รองปลัด อว.ได้กล่าวว่า ผมดีใจที่เห็นความร่วมมือของมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 4 แห่ง คือ มรภ.อุดรธานี มรภ.เลย มรภ.มหาสารคาม และมรภ.สกลนคร ในฐานะสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ที่ตระหนักและให้ความสำคัญของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงร่วมกันสร้างสรรค์ต่อยอดช่วยชาวบ้านและชุมชน โดยเฉพาะการเกษตร ในเรื่องข้าวที่เป็นของไทย ด้วยศักยภาพของพี่น้องเกษตรกร และมหาวิทยาลัยที่เรามีอยู่ ขอให้จับมือพัฒนาข้าวไทย ให้มีมูลค่าที่สูงขึ้นด้วยการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์จากข้าว เช่น ปลูกข้าวทำเป็นยา ทำเป็นเครื่องสำอาง นำนวัตกรรมมาขยับ Value Chain ให้ไปถึงตรงนั้นได้ แต่ทั้งนี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย กระทรวง อว. มีกองทุน ววน.ที่สนับสนุนการวิจัย แต่เราจะไม่วิจัยไปเรื่อยๆ เราต้องทำให้พี่น้องชาวไทยกินดีอยู่ดีขึ้น ส่วนธัชชา เป็นหน่วยที่ตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ สถาบันเศรษฐกิจพอเพียงเป็น 1 ใน 5 สถาบันภายใต้ธัชชา ที่เราต้องการผลักดันให้ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่โมเดลของการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับนานาชาติ เพราะในหลวง ร.9  ทรงทำไว้ให้กับคนไทยได้นำไปใช้ แต่เราจะทำให้ปรัชญานี้เป็น Center ของภูมิภาค ถือเป็น Soft Power ของไทยจริงๆ ที่จะให้ต่างชาติมาเรียนรู้เป็นต้นแบบ ไม่ใช่แค่ด้านการเกษตรเท่านั้น แต่ทางด้านเศรษฐกิจก็นำไปปรับใช้ได้เช่นกัน ฝากให้ธัชชาและสถาบันอุดมศึกษาสานต่อเรื่องนี้ ทำให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ให้ต่างชาติมาศึกษาดูงาน ซึ่งจะเป็นไปตามเป้าหมายของสถาบันเศรษฐกิจพอเพียงที่ธัชชาได้จัดตั้งขึ้น


ด้าน "ดร.เอกราช" รองอธิการบดี มรภ.อุดรธานี กล่าวถึงโครงการวิจัยดังกล่าวว่า ได้รับงบประมาณจากสถาบันเศรษฐกิจพอเพียงของธัชชา เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานสะอาดที่ใช้สำหรับกระบวนการผลิตข้าวแบบครบวงจร เป็นทำงานร่วมกันของมหาวิทยาลัยเครือข่าย ช่วยปรับปรุงการผลิตข้าว ด้วยเทคโนโลยีที่สะอาดขึ้น ประหยัดขึ้น ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากภายนอก บนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  เช่น เตาเผาแกลบไร้ควัน (พลังงาน ชีวมวลจากแกลบ) เครื่องสูบน้ำผิวดินพลังงานแก๊สชีวภาพ (LPG) เครื่องสูบน้ำผิวดินพลังงานไฮบริด (กังหันลม – โซล่าเซลล์) เครื่องสูบน้ำใต้ดินพลังงานไฮบริด (กังหันลม – โซล่าเซลล์) เครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวนาแห้ง (พ่วงรถไถเดินตาม) นอกจากนั้นโครงการนี้ยังเป็นการทำงานร่วมกับชุมชนเพื่อเรียนรู้ร่วมกันตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ เพื่อแก้ไขปัญหาเดิมที่มีอยู่ เริ่มจากกลุ่มบ้านต้อน จังหวัดหนองคาย และจะมีการขยายผลไปปรับใช้ยังพื้นที่ต่างๆ ต่อไปด้วย



This website uses cookies to help us to provide you with a good experience when you use the website and also allows us to improve the website. By continuing to use the website, you are agreeing to us placing cookies on your computer or read cookie Privacy Policy . You are agreeing to us placing cookies on your computer
ChatBot cancel

สวัสดีฉันคือแชทบอทจาก
ธัชชา ฉันสามารถช่วยอะไรได้บ้าง?

ChatBot cancel
สวัสดีฉันคือแชทบอทจาก
ธัชชา ฉันสามารถช่วยอะไรได้บ้าง?
powered by Eventpass

ธัชชา มีสถานะเป็นหน่วยงานภายในระดับกองของสำนักปลัดกระทรวง อว. ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนาด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ของประเทศ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

© 2021 TASSHA, Office of the Permanant Secretary , Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.

แอปพลิเคชั่นทั้งหมดของกระทรวง อว.

ติดตาม "ธัชชา" ได้ที่