อว. เปิดตัวสุวรรณภูมิศึกษาไร้พรมแดนในยุคดิจิทัล เพิ่มศักยภาพแพลตฟอร์มบูรณาการการศึกษาสุวรรณภูมิเชื่อมโยงโลก



         วันที่ 13 มิ.ย. ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดงาน สุวรรณภูมิศึกษาไร้พรมแดนในยุคดิจิทัล (Suvarnabhumi Education beyond Frontier in Digital World) ภายใต้โครงการการเพิ่มศักยภาพแพลตฟอร์มบูรณาการการศึกษาสุวรรณภูมิเชื่อมโยงโลก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พร้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง วิทยาศาสตร์และฐานข้อมูลภูมิปัญญา เพื่อขับเคลื่อนสุวรรณภูมิศึกษา โดยมี ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวง อว. นายสัมพันธ์ เย็นสำราญ ที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวง อว. เข้าร่วมงาน ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารพระจอมเกล้า กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

    ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก กล่าวว่า “สุวรรณภูมิศึกษาไร้พรมแดนในยุคดิจิทัล” เป็นการเปิดตัวแพลตฟอร์มและคลังข้อมูลออนไลน์ ของสถาบันสุวรรณภูมิศึกษา ภายใต้วิทยสถานด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย หรือ “ธัชชา” ที่กำกับดูแลโดยสำนักงานปลัดกระทรวง อว. การจัดทำแพลตฟอร์มและคลังข้อมูลออนไลน์ ถือเป็นหนึ่งในเป้าหมายสำคัญของธัชชา เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ของประเทศทั้งเคยศึกษากันมาแล้ว และกำลังศึกษาวิจัยกันอยู่ในด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ของประเทศไทย อันจะเป็นคลังข้อมูลกลางขนาดใหญ่ในเรื่องนี้ ทำให้ผู้สนใจเข้าถึงได้ง่าย มีความน่าเชื่อถือและมีความปลอดภัยของข้อมูล เป็นแหล่งเรียนรู้ ศึกษาวิจัยต่อยอด ยกระดับการศึกษาของประเทศ

         ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก กล่าวต่อว่า เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ได้เห็นการต่อยอดการดำเนินงานด้านสุวรรณภูมิศึกษาในวันนี้ ต้องยอมรับว่างานนี้ดำเนินการได้ค่อนข้างเร็ว ต่อจากนี้จะมีการเผยแพร่หนังสือที่เก็บรวบรวมข้อมูลทางด้านสุวรรณภูมิศึกษาออกมา ซึ่งมีหลากหลายภาษา หลายคนที่เข้าใจว่าเรื่องของสุวรรณภูมิศึกษาเป็นเรื่องโบราณ แต่แท้จริงแล้วการจะศึกษา หรือรับรู้เรื่องราวเหล่านี้ จะต้องอาศัยเครื่องมือ วิทยาศาสตร์ วิทยาการสมัยใหม่เข้ามาช่วย เพื่อสืบค้นข้อมูลความเป็นจริงเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างชัดเจน การเรียนรู้และศึกษาประวัติศาสตร์ โดยการหยิบเอาความรู้ ข้อมูลที่ดีมาใช้ จะทำให้ความสามารถในการแข่งขันของคนไทยทางด้านการท่องเที่ยว ศิลปะเชิงสร้างสรรค์ก้าวกระโดดขึ้น

      ขณะที่ ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ กล่าวว่า กลไกการดำเนินงานของวิทยสถานสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย (ธัชชา) ต้องทำแบบมุ่งเป้า มีทิศทางของการทำที่ชัดเจน 1. มีการรวบรวมเรื่องที่จะดำเนินการแบบรอบด้าน สะสมเป็นรูปแบบคลังความรู้ 2. ต้องขับเคลื่อนการวิจัย พร้อมหาความรู้ใหม่ ๆ 3. สร้างนักวิจัย สร้างคนรุ่นใหม่ สร้างบุคลากรที่มีความรู้ในด้านนี้ และ 4. สร้างมูลค่าให้กับงานที่ดำเนินการ โดยทั้งหมดจะต้องผสานความร่วมมือกับพันธมิตร ทั้งสถาบันการศึกษา สถาบันการวิจัยต่าง ๆ ซึ่งจะต้องขยายเครือข่ายการดำเนินงานให้มากขึ้น เพราะงานของธัชชา ไม่ใช่งานของใครกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่ต้องร่วมกันทำ ร่วมกันสร้างขึ้น และจะต้องเพิ่มการเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ   


ข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ถ่ายภาพ : นางสาวอินทิรา บัวลอย
วิดีโอ : นายสุเมธ บุญเอื้อ
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3729
E-mail : pr@mhesi.go.th
This website uses cookies to help us to provide you with a good experience when you use the website and also allows us to improve the website. By continuing to use the website, you are agreeing to us placing cookies on your computer or read cookie Privacy Policy . You are agreeing to us placing cookies on your computer
ChatBot cancel

สวัสดีฉันคือแชทบอทจาก
ธัชชา ฉันสามารถช่วยอะไรได้บ้าง?

ChatBot cancel
สวัสดีฉันคือแชทบอทจาก
ธัชชา ฉันสามารถช่วยอะไรได้บ้าง?
powered by Eventpass

ธัชชา มีสถานะเป็นหน่วยงานภายในระดับกองของสำนักปลัดกระทรวง อว. ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนาด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ของประเทศ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

© 2021 TASSHA, Office of the Permanant Secretary , Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.

แอปพลิเคชั่นทั้งหมดของกระทรวง อว.

ติดตาม "ธัชชา" ได้ที่