จากพรหมลิขิตสู่ห้องเรียนประวัติศาสตร์ไทย : เหตุการณ์ ผู้คน สังคม และพัฒนาการของศิลปะ




จากพรหมลิขิตสู่ห้องเรียนประวัติศาสตร์ไทย : เหตุการณ์ ผู้คน สังคม และพัฒนาการของศิลปะ 

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 มกราคม 2567 วิทยสถานด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย (ธัชชา)   ร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา จัดโครงการ “จากพรหมลิขิตสู่ห้องเรียนประวัติศาสตร์ไทย” ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ซึ่งในงานมีกิจกรรมหลากหลาย
ไม่ว่าจะเป็นการบรรยายของ รองศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พิศภูมิวิถี ที่ปรึกษาธัชชา ที่เล่าถึงประวัติศาสตร์ในสมัย กรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เหตุการณ์ ผู้คน สังคม และพัฒนาการของศิลปะที่เป็นตัวกำหนดช่วงอยุธยา ตอนต้น ตอนกลาง และตอนปลาย โดยในปี พ.ศ. 2251 เป็นช่วงที่ศิลปะ มีพัฒนาการมากที่สุด เมืองอยุธยาเป็นดินแดนที่ยังมีวัฒนธรรมที่น่าหลงใหล โดยเฉพาะความงามทางกายภาพของเมือง แม่น้ำ คูคลอง วัดวาอาราม รวมถึงความมั่งคั่งของสินค้า และความสะดวกในการจัดหาซื้อขายสินค้า รวมทั้งการบริการ เช่น การขนส่งพระคลังสินค้าเป็นที่รู้จักกันมากในตลาดโลก การเอื้อให้ชาวต่างชาติมีบทบาทมากขึ้น แต่สังเกตได้ว่าหลังรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแล้ว ชาวต่างชาติได้รับการมอบหมายงานในการควบคุมชาวสยามน้อยลง





เป็นเพียงการใช้ความสามารถเชิงช่างหรือเชิงวิทยาศาสตร์ของชาวตะวันตก เช่น การส่องกล้องตัดคลองตัดถนน เท่านั้น ซึ่งการศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยาควรศึกษาให้ครบทุกด้าน เนื่องด้วยมีความเชื่อมโยงกันด้วยการค้าที่เจริญรุ่งเรือง เมื่อระบบการค้าพังอยุธยาจึงถึงคราวล่มสลาย เมืองอยุธยาเสียให้แก่พม่าในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเอกทัศ รวมเวลาอยุธยาทั้งหมด 79 ปี ซึ่งสำหรับผู้สนใจการศึกษาเรื่องราวประวัติศาสตร์นั้นไม่เพียงศึกษาจากละครเท่านั้น แต่สามารถศึกษาเพิ่มเติมจากเอกสาร โดยมีเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่ควรรู้ เช่น พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม คำให้การกรุงเก่า เอกสารต่างชาติจากบันทึกของคณะมิชชันนารีฝรั่งเศส จดหมายจากพ่อค้าฮอลันดา เป็นต้น ควบคู่ไปด้วย






และในช่วงบ่าย มีการจัดนิทรรศการ “เสกสร้างศิลป์บนแผ่นดินอยุธยา” ประกอบด้วย การสาธิตผลิตภัณฑ์ของช่างศิลป์ท้องถิ่น ได้แก่ งานเครื่องมุก งานจักรสานบางเจ้าฉ่า งานเครื่องปั้นดินเผาคลองสระบัว ปลาตะเพียนใบลาน และงานแทงหยวก เป็นต้น และการแสดงเพลงพื้นบ้าน เพลงเรือ และเพลงฉ่อย ซึ่งเป็นเพลงพื้นบ้านในสมัยอยุธยา รวมถึงนิทรรศการจากสถาบันสุวรรณภูมิศึกษา เกี่ยวกับการจัดการน้ำในสมัย กรุงศรีอยุธยา ณ ลานวัดบรมพุทธาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และในงานนี้ ดร.สิริกร มณีรินทร์ ผอ.สถาบันช่างศิลป์ท้องถิ่น ยังได้กล่าวถึงช่างศิลป์ในสมัยอยุธยา ว่ามีศิลปะที่เป็นอัตลักษณ์ของพื้นที่และของชาติเป็นภูมิปัญญาช่างศิลป์ที่สั่งสมมาตั้งแต่สมัยอดีตถึงปัจจุบัน โดยการสำรวจตามแผนที่วัฒนธรรมช่างศิลป์ พบว่าจังหวัดอยุธยามีจำนวนช่างศิลป์ท้องถิ่น 41 คน แต่จังหวัดอ่างทองที่เป็นเมืองบริวารกลับมีจำนวนช่างศิลป์มากกว่า คือจำนวน 68 คน เหตุผลที่เป็นแบบนั้นสามารถหาอ่านได้จาก E-Book ในเว็บไซต์ โดยงาน ของสถาบันช่างศิลป์ท้องถิ่นคือการนำนักวิจัยที่มีองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ศิลปะ ภูมิสารสนเทศ นำมาปรับประยุกต์ใช้เพื่อให้งานช่างศิลป์สามารถดำรงต่อไปได้อย่างยั่งยืน 





This website uses cookies to help us to provide you with a good experience when you use the website and also allows us to improve the website. By continuing to use the website, you are agreeing to us placing cookies on your computer or read cookie Privacy Policy . You are agreeing to us placing cookies on your computer
ChatBot cancel

สวัสดีฉันคือแชทบอทจาก
ธัชชา ฉันสามารถช่วยอะไรได้บ้าง?

ChatBot cancel
สวัสดีฉันคือแชทบอทจาก
ธัชชา ฉันสามารถช่วยอะไรได้บ้าง?
powered by Eventpass

ธัชชา มีสถานะเป็นหน่วยงานภายในระดับกองของสำนักปลัดกระทรวง อว. ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนาด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ของประเทศ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

© 2021 TASSHA, Office of the Permanant Secretary , Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.

แอปพลิเคชั่นทั้งหมดของกระทรวง อว.

ติดตาม "ธัชชา" ได้ที่