ปอว. นำทีมลงพื้นที่แหล่งประวัติศาสตร์ สระแก้ว-ปราจีนบุรี เสวนา “สุววรรณภูมิ เมืองที่ค้นหาในเชิงนามธรรมสู่การสร้างแรงบันดาลใจบนเส้นทาง ปางมังกร-ปากโขง”

7409C1F7 F264 4D98 87FC E0E11D626497 0608d

เมื่อวันที่ 19-21 พฤศจิกายน 2564 ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วย รศ.ดร.พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ รองปลัดกระทรวง อว. นำคณะผู้บริหารกระทรวงฯ และผู้เชี่ยวชาญจากวิทยสถานสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย (ธัชชา) ลงพื้นที่แหล่งโบราณคดีและโบราณสถานที่สำคัญในจังหวัดสระแก้วและจังหวัดปราจีนบุรี อาทิ แหล่งโบราณคดีปราสาทเขาโล้น อุทยานประวัติศาสตร์สด๊กก๊อกธม เมืองโบราณศรีมโหสถ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติปราจีนบุรี รวมทั้งรับฟังการบรรยายในหัวข้อ “ชีวิตก่อนความตายของคนบนแผ่นดินสุวรรณภูมิ” โดย นางประพิศ พงศ์มาศ ผู้เชี่ยวชาญโบราณคดี ด้านมานุษยวิทยากายภาพ และการเสวนาธัชชานานาสาระทางวัฒนธรรม ในหัวข้อ “สุววรรณภูมิ เมืองที่ค้นหาในเชิงนามธรรมสู่การสร้างแรงบันดาลใจบนเส้นทาง ปามังกร-ปากโขง” โดยมีผู้เข้าร่วมเสวนา ประกอบด้วย อดีตเอกอัครราชทูตสมปอง สงวนบรรพ์ ผู้อำนวยการสถาบันโลกคดีศึกษา ธัชชา คุณชินณวุฒิ วิลยาลัย ผู้อำนวยการกองโบราณคดี กรมศิลปากร และ ดร.ศิริลักษณ์ พฤกษ์ปิติกุล รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) โดยมี ผศ.ชวลิต ขาวเขียว คณบดีคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นผู้ดำเนินการเสวนา

D93A038A 6FF0 4EEE B89D 36ABD26883AC bff69

ปอว. กล่าวว่า เราอยู่ในพื้นที่เขตชายแดนระหว่างประเทศกัมพูชาและประเทศไทย หรือที่เรียกว่าเส้นทางปากโขง-ปากมังกร ซึ่งจะทำให้ได้เห็นการขับเคลื่อนทางอารยธรรมที่เกิดขึ้น ถือเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นมากในช่วงสองวันนี้เราจะได้รับฟังมากขึ้น และหวังว่าการดำเนินกิจกรรมแบบนี้ จะทำให้เราได้รับรู้ประวัติศาสตร์จากสถานที่จริง และทำให้กระบวนการหลอมรวมธัชชาดำเนินไปได้ดี เกิดการทำงานร่วมกันะหว่างด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ศิลปกรรมศาสตร์และด้านวิทยาศาสตร์ ขอขอบคุณสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)(gistda) ในการลงพื้นที่ครั้งนี้ และร่วมแบ่งปันองค์ความรู้ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการศึกษาภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และโบราณคดีต่อไป

F4072F42 4F2A 4702 8274 CD659715126E 02382

อยากให้การดำเนินงานต่างของธัชชาเป็นไปอย่างต่อเนื่องเพราะสถาบันธัชชากำลังได้รับความสนใจและถูกพูดถึงมาก รวมทั้งสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ในขณะนี้เป็นเรื่องการสืบสานและดำรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมของประเทศทั้งสิ้น” ปอว.กล่าวในตอนท้าย

9078FAAB 6FCE 41C3 992E 8F66FF5C941E 29d0d

เผยแพร่โดย : กลุ่มสื่อสารองค์กร กองกลาง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732
e-mail :  pr@mhesi.go.th
Facebook : @MHESIThailand
Twiiter : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313

 

This website uses cookies to help us to provide you with a good experience when you use the website and also allows us to improve the website. By continuing to use the website, you are agreeing to us placing cookies on your computer or read cookie Privacy Policy . You are agreeing to us placing cookies on your computer
ChatBot cancel

สวัสดีฉันคือแชทบอทจาก
ธัชชา ฉันสามารถช่วยอะไรได้บ้าง?

ChatBot cancel
สวัสดีฉันคือแชทบอทจาก
ธัชชา ฉันสามารถช่วยอะไรได้บ้าง?
powered by Eventpass

ธัชชา มีสถานะเป็นหน่วยงานภายในระดับกองของสำนักปลัดกระทรวง อว. ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนาด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ของประเทศ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

© 2021 TASSHA, Office of the Permanant Secretary , Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.

แอปพลิเคชั่นทั้งหมดของกระทรวง อว.

ติดตาม "ธัชชา" ได้ที่