อว. เปิดเวทีเสวนาวิชาการซีรี่ย์กรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 1 “อยุธยา on the move”

1 3 4391a

(19 สิงหาคม 2564) ศ. (พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) เป็นประธานเปิดงานเสวนาวิชาการซีรี่ย์กรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 1 “อยุธยา on the move” จัดโดย สำนักงานวิทยสถานสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย (ธัชชา)พร้อมด้วย ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาฯ, ดร.พัชรินรุจา จันทโรนานนท์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาฯ, ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการอุดมศึกษาฯ และรศ.พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ ที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เข้าร่วมงาน ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารพระจอมเกล้า สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

2 3 bfd03

อยุธยาที่หลากหลาย : ประวัติศาสตร์ สังคมวัฒนธรรมและการศึกษา โดย รศ.ดร.ปรีดี พิภูมิวิถี คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อยุธยาที่หลากหลาย มีปัจจัยจาก 4 ประการที่พบชัดเจนที่สุด อย่างแรก คือ ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์แล้วก็ภูมินิเวศวัฒนธรรม สัมพันธ์ไปกับตัวกิจกรรมทางเศรษฐกิจ อาชีพ ประเพณีวิถีชีวิต ระบบของธรรมชาติ วัฒนธรรม และระบบภูมิศาสตร์ของประเทศไทย อันที่สอง คือ ระบบโครงสร้างทางการเมืองและเศรษฐกิจ รูปแบบการเมืองการปกครองที่ใช้ระบบผู้ปกครองกับผู้ใต้ปกครองเป็นหลัก แต่สังคมอยุธยามีความยืดหยุ่น มีความหลากหลายคนที่จะเข้ามาสู่ในระบบของโครงสร้างการเมืองการปกครองอยุธยามีอยู่หลายกลุ่ม หลายทักษะความสามารถ ปัจจัยที่สาม คือ ระบบความเชื่อและศาสนาที่ค่อนข้างเปิด และสุดท้ายที่ คือ ทรัพยากรธรรมชาติและแรงงาน เพราะสัมพันธ์กันกับระบบเศรษฐกิจการค้า อยุธยาเป็นทั้งคนผลิตเอง คนจัดหา แล้วก็เป็นคนกำหนดราคาขาย เพราะฉะนั้นก็เท่ากับว่าดูแลกระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำจนกระทั่งปลายน้ำ

พระนครศรีอยุธยาเป็นหนึ่งในประวัติศาสตร์ที่เห็นมิติของความหลากหลายค่อนข้างสมบูรณ์ เพราะฉะนั้นอยุธยากับประวัติศาสตร์ระดับลึกสำคัญ คนที่เรียนประวัติศาสตร์อยุธยาก็ต้องสนใจในระดับลึกลงไป ศึกษาอย่างลึกซึ้งถึงความสัมพันธ์ไทยจีน ความสัมพันธ์ไทยตะวันตก ระบบการค้า การเสียภาษีหรืออื่น ๆ ในขณะเดียวกันอาจจะมีเรื่องสถาปัตยกรรม การต่างประเทศ ประเพณี การละเล่นในระบบโครงสร้างการปกครอง การสงคราม และคติชนวิทยา ศิลปะวิทยาการ หรือแม้กระทั่งวรรณคดี รวมกันแล้วเป็นมิติของการจัดการเรียนการสอนแบบอยุธยา เราอาจจะใส่ความเป็นวิทยาศาสตร์เข้าไปในช่องของมิติบูรณาการด้วยก็ได้ ซึ่งสำคัญด้วยซ้ำไป เพราะฉะนั้นการเรียนประวัติศาสตร์อยุธยาเป็นการตั้งคำถามแต่ไม่ใช่คำถามประเภท ใคร อะไร เมื่อไหร่ มันจำเป็นจะต้องเป็นคำถามอย่างไรแล้วมันไม่ใช่อย่างไรเฉพาะอยุธยา แต่มันต้องเป็นอย่างไรแบบบูรณาการทั้งฝั่งวิทยาศาสตร์แล้วก็ฝั่งของสังคมศาสตร์

3 3 55441

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับบางเรื่องราวในประวัติศาสตร์อยุธยา รศ.ดร.สาโรช รุจิรวรรธน์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน

สำหรับเรื่องดาวหาง หากใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ตรวจดูสามารถบอกได้ว่าดาวหางนี้ ปรากฏขึ้นจริง ในปี 1529 แต่ไม่ใช่ดาวหางฮัลเลย์ และปัจจุบันยังไม่ทราบว่าเป็นดาวหางใด คงเป็นสิ่งที่วิทยาศาสตร์จะต้องหาความรู้กันต่อไป เรื่องที่ 2 อาจจะมีความเป็นไปได้ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงทอดพระเนตรสุริยุปราคาแบบวงแหวนในอ่าวไทย แต่การพิสูจน์ว่าจริงหรือไม่จริง ต้องใช้เอกสารเพิ่มเติมต่อไป เรื่องสุดท้ายวัดพระคลังน่าจะเป็นวัดดุสิดารามในปัจจุบันนี้น่าจะเป็นความจริง ในเรื่องประวัติศาสตร์ต่าง ๆ ยังมีเครื่องมืออีกหลายอย่างที่ อว. สามารถใช้พิสูจน์เรื่องของโบราณสถาน โบราณวัตถุ เรื่องราวต่าง ๆ ได้ อันนี้ก็กระจายอยู่ในสถาบันวิจัย ตามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในประเทศ เป็นนิมิตหมายอันดีที่เรามีการบูรณาการร่วมในศาสตร์ต่าง ๆ ให้เกิดความรู้ใหม่ได้

4 1 201c5

ศิลปกรรมอยุธยา : การต่อยอดความรู้สู่อนาคต อ.สุรินทร์ ศรีสังข์งาม ผู้อำนวยการสถาบันอยุธยาศึกษา ม.ราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

ประวัติศาสตร์ไม่ใช่วิชาของอดีต แต่เป็นวิชาที่เป็นรอยต่อระหว่างเวลา คำว่าปัจจุบันเกือบจะเป็นสิ่งที่ไม่มีจริงด้วยซ้ำ ทันที่คุณพูดว่าปัจจุบัน ปัจจุบันก็จะกลายเป็นอดีตทันที เพราะฉะนั้นคือศาสตร์สำหรับการก้าวไปสู่อนาคต คำนี้ไม่เกินจริง โดยเฉพาะเรื่องนโยบายของกระทรวง อว. ที่ได้เน้นให้แบ่งกลุ่มของมหาวิทยาลัย แล้วมหาวิทยาลัยราชภัฏ ก็ได้รับหน้าที่ในการเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ดังนั้นสิ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญ หรือเกือบจะเป็นทุนตั้งต้นของการพัฒนาท้องถิ่น ก็คือทุนทางศิลปะกรรมและทุนทางวัฒนธรรมนั่นเอง ปัจจุบันประวัติศาสตร์ศิลปะวัฒนธรรมไม่ใช่เรื่องไกลตัว และก็ไม่ใช่สิ่งที่คนไม่สนใจ ไม่ใช่ยาขม แต่เป็นพลัง แล้วก็เป็นพลวัตและระบบการขับเคลื่อนในปัจจุบัน

ความรู้ในอดีตนั้นสำคัญอย่างไร เราใช้ศิลปะนั้นเป็นภาพสะท้อนและแสดงพฤติกรรมทางสังคมของมนุษย์ในอดีต เราอยากรู้ว่ามนุษย์ในสมัยนั้นคิดอย่างไร เจตจำนงของมนุษย์ในยุคนั้น มนุษย์เป็นสิ่งที่สัมผัสมันจะปรากฏร่องรอยอยู่ในงานศิลปกรรมทั้งสิ้น การศึกษางานศิลปะไม่ใช่หยุดอยู่เพียงการศึกษาความงามหรือสิ่งที่เห็นแต่ด้านหน้า แต่ยังมีภูมิปัญญาอย่างมหาศาลอยู่ด้วย ซึ่งการต่อยอด คือการนำความรู้หนึ่งกับความรู้หนึ่งที่มีการศึกษาดีแล้วนั้นมาต่อกัน เมื่อความรู้ทั้งสองอย่างผสมกันนั่นอาจจะกลายเป็นความรู้ใหม่ที่ดีขึ้น หรือกลายเป็นความรู้เดิมที่มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นก็ได้ นอกจากนั้นตัวงานศิลปกรรมไม่ใช่แค่รูปแบบและความงาม แต่กลับกลายเป็นเครื่องธำรงความรู้ และภูมิปัญญาไว้อย่างมากมาย ดังนั้นถ้าจะต่อยอดความรู้จากศิลปกรรมของอยุธยา ทำได้ด้วย 2 อย่าง คือ 1. เทคโนโลยีหรือความรู้ในปัจจุบัน และ 2. การทำงานวิจัย

5 1 4a5ba

ข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ถ่ายภาพ : นายสกล นุ่นงาม
ถ่ายภาพวีดิโอ : นายกรภัทร์ จิตต์จำนงค์ และนายสุเมธ บุญเอื้อ
กลุ่มสื่อสารองค์กร กองกลาง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
e-mail : pr@mhesi.go.th
Facebook : @MHESIThailand
Twiiter : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313

This website uses cookies to help us to provide you with a good experience when you use the website and also allows us to improve the website. By continuing to use the website, you are agreeing to us placing cookies on your computer or read cookie Privacy Policy . You are agreeing to us placing cookies on your computer
ChatBot cancel

สวัสดีฉันคือแชทบอทจาก
ธัชชา ฉันสามารถช่วยอะไรได้บ้าง?

ChatBot cancel
สวัสดีฉันคือแชทบอทจาก
ธัชชา ฉันสามารถช่วยอะไรได้บ้าง?
powered by Eventpass

ธัชชา มีสถานะเป็นหน่วยงานภายในระดับกองของสำนักปลัดกระทรวง อว. ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนาด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ของประเทศ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

© 2021 TASSHA, Office of the Permanant Secretary , Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.

แอปพลิเคชั่นทั้งหมดของกระทรวง อว.

ติดตาม "ธัชชา" ได้ที่