อว. "ตามรอยวัฒนธรรมจากอดีตสู่ปัจจุบันในภาคใต้” บูรณาการองค์ความรู้สู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์.





เมื่อวันที่ 22 ก.พ. พญ.เพชรดาว โต๊ะมีนา ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดงาน "ตามรอยวัฒนธรรมจากอดีตสู่ปัจจุบันในภาคใต้” ซึ่งจัดโดยวิทยสถานด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย หรือธัชชา ซึ่งอยู่ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสถาบันช่างศิลป์ท้องถิ่นกับสถาบันสุวรรณภูมิศึกษา โดยมี อ.วิชัย รักชาติ อ.เฉลิมพล โตสารเดช อ.สิทธิโชค เต็มสวัสดิ์ จากวิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ พร้อมด้วย ผศ.ดำรงค์ ชีวะสาโร จากมหาวิทยาลัยทักษิณ อ.สุทธิศักดิ์ น้ำทิพย์ จากวิทยาลัยชุมชนปัตตานี ดร.ชนกิตติ์ ธนะสุข จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และนายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช เป็นวิทยากรการเสวนาวิชาการในหัวข้อ "ลวดลายไทย...ที่มาและความหมายแห่งความงาม” ของ 5 ภูมิภาคของไทย และมี ดร. สิริกร มณีรินทร์ ผู้อำนวยการสถาบันช่างศิลป์ เป็นผู้ดำเนินรายการ ณ จังหวัดสงขลา





      พญ.เพชรดาว กล่าวว่า การจัดงานในครั้งนี้ ทำให้เข้าใจ "งานช่างศิลป์ท้องถิ่นธัชชา" ได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่มีรากเหง้า และเป็นคุณค่าที่สืบต่อมาตั้งแต่อดีตสู่ปัจจุบัน ซึ่งต้องรักษาไว้ และส่งต่อไปให้เยาวชนรุ่นต่อไป นอกจากนี้ ภูมิปัญญาเหล่านี้ยังเป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพให้คนในท้องถิ่นอีกด้วย อย่างในวันนี้ตนได้รู้จักแม่ลาย ซึ่งเป็นแม่บทเบื้องต้น มีแม่ลายพื้นฐาน แม่ลายกระหนก แม่ลายดาว แม่ลายดอกสี่กลีบ และแม่ลายพุ่ม ทำให้รู้สึกซาบซึ้งในศิลปะและวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก และดีใจที่มีเยาวชนรุ่นใหม่มาร่วมฟังเสวนาฯ ในครั้งนี้ด้วย ซึ่งจะทำให้เข้าใจและภาคภูมิใจในแผ่นดิน รวมทั้งภูมิภาคของตนเอง ส่วนการเยี่ยมพิพิธภัณฑ์คติชนวิทยา นอกจากจำทำให้ได้รู้จักวัฒนธรรมของคนใต้ผ่านนิทรรศการในห้องต่าง ๆ  แล้ว ยังได้ชมวิวสวย ๆ รวมถึงพิพิธภัณฑ์ ของสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มอ. ซึ่งเป็นแหล่งรวมผ้าทอพื้นบ้านของภาคใต้ที่หาชมได้ยากอีกด้วย

  ด้าน ดร.สิริกร กล่าวว่า เนื่องในโอกาสธัชชาครบรอบ 3 ปี และกำลังก้าวเข้าสู่ปีที่ 4 นอกจากจะจัดให้มีการเสวนาฯ นำเสนอลวดลายไทยของภาคต่าง ๆ ทั้งภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคอีสาน ภาคใต้ และ 3 จังหวัดชายแดนใต้ อันเป็นการสะท้อนวิถีชีวิตประเพณีของแต่ละท้องถิ่นแล้ว ยังมีการนำผลงานของสถาบันฯ มาจัดแสดงอีกด้วย ซึ่งผลงานทุกชิ้นนักวิจัยของเราได้เข้าไปปลุกความคิดสร้างสรรค์ให้กับชาวบ้าน ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้สอยของคนรุ่นใหม่ สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนมากขึ้น ซึ่งหลังจากนี้เราจะต้องต่อยอดโดยการบูรณาการกันระหว่างสถาบันภายใต้ธัชชาให้มากยิ่งขึ้น เพื่อนำองค์ความรู้จากงานวิจัยไปพัฒนาประเทศ โดยเริ่มจากรากฐาน ชุมชน ท้องถิ่น สู่ประเทศต่อไป

This website uses cookies to help us to provide you with a good experience when you use the website and also allows us to improve the website. By continuing to use the website, you are agreeing to us placing cookies on your computer or read cookie Privacy Policy . You are agreeing to us placing cookies on your computer
ChatBot cancel

สวัสดีฉันคือแชทบอทจาก
ธัชชา ฉันสามารถช่วยอะไรได้บ้าง?

ChatBot cancel
สวัสดีฉันคือแชทบอทจาก
ธัชชา ฉันสามารถช่วยอะไรได้บ้าง?
powered by Eventpass

ธัชชา มีสถานะเป็นหน่วยงานภายในระดับกองของสำนักปลัดกระทรวง อว. ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนาด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ของประเทศ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

© 2021 TASSHA, Office of the Permanant Secretary , Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.

แอปพลิเคชั่นทั้งหมดของกระทรวง อว.

ติดตาม "ธัชชา" ได้ที่